The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ได้ถูกกำหนดและตั้งชื่อตามชื่อสถานที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ณ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอันเป็นการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกน้ำ ต่อมาขอบเขตการดำเนินการของอนุสัญญาฯ ได้ขยายครอบคลุมกว้างขึ้นโดยเน้นการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดในทุกๆด้าน ตลอดจนเพื่อยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก โดยมีพันธกิจที่สำคัญในการดำเนินงานระดับชาติโดยความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกภูมิภาคของโลก อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 และเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงได้กำหนดให้ทุกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (World Wetlands Day)
ในคู่มืออนุสัญญาแรมซาร์ (The Ramsar Convention Manual) ได้แบ่งประเภทของพื้นที่ชุ่มน้ำเป็น 5 ประเภท คือ
1). พื้นที่ทางทะเล (Marine) ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล รวมถึงทะเลสาบน้ำเค็ม หาดหิน และแนวปะการัง
2). พื้นที่ปากแม่น้ำ (Estuarine) ได้แก่ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่ราบลุ่มน้ำขึ้นถึง และพื้นที่ป่าชายเลน
3). พื้นที่ทะเลสาบ (Lacustrine)ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณทะเลสาบ
4). พื้นที่แหล่งน้ำไหล (Riverine) ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณแม่น้ำ ลำธาร ห้วย
5). พื้นที่หนองน้ำ หรือที่ลุ่มชื้นแฉะ (Palustrine) ได้แก่ ที่ลุ่มชื้นแฉะ ที่ลุ่มน้ำขัง และหนองน้ำซับ
© Chaiya Peng-un/WWF-Thailand
การเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์
- ทำให้มีการอนุรักษ์และยับยั้งการสูญเสียของพื้นที่ชุ่มน้ำในแต่ละภูมิภาคของโลก
- ลดปัญหาความขัดแย้งในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำระหว่างประเทศตลอดจนสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในพื้นที่รวมทั้งฝูงนกน้ำที่อพยพตามฤดูกาลไปอยู่ในประเทศต่างๆ ทั้งนี้ เนื่องจากอนุสัญญา ฯ ระบุว่าภาคีจะต้องร่วมมือในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน
- ทำให้มีการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำและสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่ใช้อย่างฉลาด เนื่องจากอนุสัญญา ฯ ระบุหน้าที่ที่ภาคีจะต้องกระทำ คือ ให้คำนึงถึงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในการกำหนดแผนการใช้ที่ดินและแผนการจัดการระดับชาติ ซึ่งการดำเนินการตามแผนการจัดการระดับชาติ ซึ่งการดำเนินการตามแผนนี้ จะเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างฉลาดตลอดจนทำให้มีพื้นที่ชุ่มน้ำที่ต้องสงวนรักษาไว้
- ทำให้มีการป้องกันการเสื่อมเสียสภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยเฉพาะที่ขึ้นทะเบียนไว้โดยมีการติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
พันธกรณีในการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์
ข้อตกลงหลัก ๆ ของประเทศที่เข้าร่วมในอนุสัญญาแรมซาร์ คือ- ภาคีแต่ละประเทศจะต้องคัดเลือกพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติหรือระหว่างประเทศอย่างน้อย 1 แห่ง บรรจุใน “ทะเบียนรายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ” นอกจากนั้นแล้วยังระบุให้แต่ละประเทศส่งเสริมการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีอยู่ในทะเบียนด้วย
- ภาคีแต่ละประเทศต้องกำหนดและวางแผนการดำเนินงานการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดไม่ว่าพื้นที่ชุ่มน้ำจะอยู่ในทะเบียนหรือไม่
- ภาคีแต่ละประเทศสามารถทำการปรึกษากับภาคีอื่นๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ตามพรมแดนระหว่างประเทศมีการใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกัน และมีการพัฒนาความช่วยเหลือสำหรับโครงการพื้นที่ชุ่มน้ำ
- ภาคีแต่ละประเทศต้องสนับสนุนเงินช่วยเหลือแก่อนุสัญญา ฯ จำนวนเงินช่วยเหลือแก่อนุสัญญาฯ จำนวนเงินช่วยเหลือของแต่ละประเทศขึ้นกับการแบ่งตาม UN Scale ซึ่งสำหรับประเทศไทยต้องบริจาคประมาณ 11,692 ฟรังค์สวิส (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555)
ผลดีในการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์
- อนุสัญญาแรมซาร์เป็นหนึ่งในกฎหมายระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ในการเป็นภาคีอนุสัญญาประเภทนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประชาคมโลก ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกัน
- การเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์ทำให้มีโอกาสเข้าร่วมกับนานาประเทศ ในการประชุมเพื่อพิจารณาหลักการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด
- การเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์จะนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศและเป็นการนำพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญของประเทศ เข้าไปในทะเบียนรายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) ทำให้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก การเพิ่มความเป็นไปได้สำหรับภาคีประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับการสนับสนุน และความช่วยเหลือในการดำเนินงานอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศ
- การเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์ จะทำให้ภาคีประเทศต่าง ๆ ได้รับข่าวสารข้อมูลและคำแนะนำที่ทันสมัยเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ และข้อคิดเห็นต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด
- ภาคีสามารถเสนอขอรับการสนับสนุนความช่วยเหลือ จากต่างประเทศหรือเงินกองทุนอนุสัญญาฯ ได้โครงการละประมาณ 40,000 ฟรังค์สวิสหรือประมาณ 1,000,000 บาท
ประเด็นสำคัญที่ควรรู้
- อนุสัญญาแรมซาร์ไม่ละเมิดอำนาจอธิปไตยของภาคี ซึ่งเป็นเจ้าของดินแดนที่มีพื้นที่ชุ่มน้ำ
- อนุสัญญาแรมซาร์เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ส่งเสริมให้ประเทศต่าง ๆ มีการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน
- พื้นที่ชุ่มน้ำใดทีได้รับการเสนอเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแล้ว ต่อมามีความจำเป็น ภาคีสามารถเพิกถอนออกจากทำเนียบหรือจำกัดขอบเขตใหม่ได้ แต่ทั้งนี้ต้องเสนอพื้นที่อื่นทดแทนด้วย
เกณฑ์สำหรับกำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์
อนุสัญญาแรมซาร์ได้กำหนดเกณฑ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศดังนี้กลุ่ม A ของเกณฑ์ พื้นที่ประกอบด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทที่เป็นตัวแทนหายากหรือมีลักษณะพิเศษ เฉพาะ
เกณฑ์ 1: พื้นที่ชุ่มน้ำหนึ่งควรได้รับพิจารณาว่ามีความสำคัญระหว่างประเทศ หากพื้นที่ชุ่มน้ำนั้นประกอบด้วยประเภทของพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นตัวแทน หายาก หรือมีลักษณะพิเศษเฉพาะ ซึ่งพบในเขตชีวภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม
กลุ่ม B ของเกณฑ์ พื้นที่ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
เกณฑ์เกี่ยวกับชนิดพันธุ์และชุมชนประชาการทางนิเวศ
เกณฑ์ 2: เกื้อกูล ชนิดพันธุ์ที่อยู่ในสถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ใกล้สูญพันธุ์ หรือ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง หรือชุมนุมประชากรที่ถูกคุกคาม
เกณฑ์ 3: เกื้อกูล ประชากรของชนิดพันธุ์พืชหรือสัตว์ที่สำคัญ สำหรับการธำรงรักษาความหลากหลาย ทางชีวภาพของเขตชีวภูมิศาสตร์หนึ่งโดยเฉพาะ
เกณฑ์ 4: เกื้อกูล ชนิดพันธุ์พืชหรือสัตว์ที่อยู่ในระยะวิกฤติหนึ่งของวงจรชีวิตของชนิดพันธุ์นั้น หรือเป็นที่อพยพมนระหว่างสภาพเสื่อมโทรม
เกณฑ์พิเศษเกี่ยวกับนกน้ำ
เกณฑ์ 5: เป็นที่อยู่อาศัยตามปกติเกื้อกูลของนกน้ำ 20,000 ตัว หรือมากกว่า
เกณฑ์ 6: เป็นที่อยู่อาศัยตามปกติเกื้อกูล ร้อยละ 1 ของประชากรในชนิดพันธุ์หรือสายพันธุ์หนึ่งของนกน้ำ
เกณฑ์พิเศษเกี่ยวกับปลา
เกณฑ์ 7: เกื้อกูล สัดส่วนที่สำคัญของสายพันธุ์ ชนิดพันธุ์ หรือวงศ์ ของปลาพื้นเมือง ระยะหนึ่งของวงจรชีวิต ปฏิสัมพันธ์ของชนิดพันธุ์ และ/หรือ ประชากรที่เป็นตัวแทนของผลประโยชน์ และ/หรือ คุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำ และมีคุณูปการต่อความความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก
เกณฑ์ 8: เป็นแหล่งสำคัญของอาหารสำหรับปลา วางไข่ ฟูมฟักตัวอ่อนและ/หรือเส้นทางอพยพ ซึ่งปริมาณของปลาไม่ว่าภายในพื้นที่ชุ่มน้ำหรือที่อื่น พึ่งพาอาศัยอยู่
สรุปข้อมูล ณ ปัจจุบันเกี่ยวกับอนุสัญญาและพื้นที่แรมซาร์ไซต์ทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2559)
- ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสิ้น 169 ประเทศ มีจำนวนพื้นที่แรมซาร์ไซต์ 2,241 แห่ง รวมพื้นที่ 215,240,652 เฮกแตร์ หรือ 1,345.255 ล้านไร่
- แรมซาร์ไซต์แห่งแรกของโลกคือ Cobourg Peninsula ในประเทศออสเตรเลีย ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2517 มีพื้นที่ 220,700 เฮกแตร์ หรือ 1.37 ล้านไร่
- แรมซาร์ไซต์ล่าสุดของโลกคือ พื้นที่ชุ่มน้ำ Barrage de Tougouri, พื้นที่ชุ่มน้ำ Barrage de Yalgo และพื้นที่ชุ่มน้ำ Bassin du Nakanbé-Mané ประเทศบูร์กินาฟาโซ ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559
- แรมซาร์ไซต์ที่เล็กที่สุด มีขนาดเพียง 1 เฮกแตร์ หรือ 6.25 ไร่ ในประเทศกินี เกาหลีใต้ หมู่เกาะซีเชลส์ และดินแดนอาณานิคมอังกฤษโพ้นทะเล ประเทศละ1 แห่ง
- แรมซาร์ไซต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Queen Maud Gulf ในประเทศแคนาดา มีพื้นที่กว่า 6.27 ล้านเฮกแตร์ หรือ 39.23 ล้านไร่
- ประเทศที่มีจำนวนแรมซาร์ไซต์มากที่สุด คือ สหราชอาณาจักร มีทั้งสิ้น 170 แห่ง พื้นที่กว่า 1.27 ล้านเฮกแตร์ หรือ 7.993 ล้านไร่
- ประเทศที่มีจำนวนพื้นที่แรมซาร์ไซต์น้อยที่สุด คือมีประเทศละ 1 แห่ง มีทั้งสิ้น 33 ประเทศ
- ประเทศโบลิเวียมีพื้นที่แรมซาร์ไซต์รวมกันมากที่สุดในโลกคือ 14.84 ล้านเฮกแตร์ หรือ 92.76 ล้านไร่ รองลงมาคือ ประเทศแคนาดา 13.06 ล้านเฮกแตร์ หรือ 81.67 ล้านไร่
ข้อมูลพื้นที่แรมซาร์ไซต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- อินโดนีเซีย 7 แห่ง พื้นที่ 1,372,976 เฮกแตร์ หรือ 8.58 ล้านไร่
- ประเทศไทย 14 แห่ง พื้นที่ 399,713.84 เฮกแตร์ หรือ 2.49 ล้านไร่ มีขนาดพื้นที่แรมซาร์ไซต์เป็นอันดับสอง รองจากประเทศอินโดนีเซีย
- ฟิลิปปินส์ 6 แห่ง พื้นที่ 154,409 เฮกแตร์ หรือ 0.96 ล้านไร่
- มาเลเซีย 6 แห่ง พื้นที่ 134,158 เฮกแตร์ หรือ 0.83 ล้านไร่
- เวียตนาม 8 แห่ง พื้นที่ 117,813 เฮกแตร์ หรือ 0.73 ล้านไร่
- กัมพูชา 4 แห่ง พื้นที่ 75,942 เฮกแตร์ หรือ 0.47 ล้านไร่
- ลาว 3 แห่ง พื้นที่ 14,760 เฮกแตร์ หรือ 92,250 ไร่
- เมียนมาร์ 1 แห่ง พื้นที่ 10,359 เฮกแตร์ หรือ 64,743.74 ไร่
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
© Ramsar.org
แผนที่แสดงพื้นที่แรมซาร์ไซต์ทั่วโลก
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
ทะเบียนรายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ในประเทศไทย
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือแรมซาร์ไซต์ในประเทศไทย