โครงการอนุรักษ์ปลาบึกแม่น้ำโขง จังหวัดเชียงราย และแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว (พ.ศ.2550-2554)  

     องค์กร WWF ประเทศไทย  ร่วมกับกรมประมง  จังหวัดเชียงราย สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงของ และ แขวงบ่อแก้ว เมืองห้วยทราย สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ร่วมดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ปลาบึก แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือไทย - ลาวในการอนุรักษ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกและใกล้สูญพันธุ์ คือ ปลาบึกแห่งลุ่มน้ำโขง

แผนที่ดำเนินโครงการ

© WWF-Thailand

วัตถุประสงค์

เพื่อการอนุรักษ์ปลาบึก และปลาขนาดใหญ่ อื่นๆ รวมทั้งระบบนิเวศฯในแม่น้ำโขง ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  
 

พื้นที่ดำเนินงาน

บริเวณแม่น้ำโขง อำเภอเชียงของ และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว
 

ระยะเวลาดำเนินงาน

เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2550 – มิถุนายน 2554
 

หน่วยงานสนับสนุนงบประมาณ

Aage V. Jensen Charity Foundation , Denmark
 

กิจกรรมหลัก

  1. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่ของปลาบึกในลุ่มน้ำโขง การอพยพ และลักษณะนิเวศวิทยา อื่นๆ
  2. จัดฝึกอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงพื้นที่ที่เป็นแหล่งอาศัยของปลาบึก
  3. เสริมสร้าง  ความเข้มแข็งของชาวประมง และความมั่นคงทางอาหารของชุมชนที่มีวิถีชีวิตพึ่งพิงแม่น้ำโขง
  4. จัดประชุมความร่วมมือระหว่างตัวแทนของรัฐบาลไทย - ลาว เพื่อทำข้อตกลงเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปลาบึก
  5. เสริมสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปลาบึกทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติเพื่อยับยั้งภัยคุกคามต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา และแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาบึก


ผลการดำเนินงานหลัก

  1. ร่วมกับกรมประมง  สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดเชียงราย  ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา และชาวประมงในพื้นที่ทำการศึกษา วิจัย สืบค้นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่ และแหล่งที่อยู่อาศัยปลาบึก 
  2. ร่วมกับประมงจังหวัดเชียงราย จัดประชุม เชิงปฏิบัติการข้าราชการประมงไทย - ลาว เพื่อร่วมกำหนดแนวทางการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงร่วมกัน 2 ประเทศ
  3. ร่วมกับประมงจังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงของ และประมงอำเภอเชียงของ จัดประชุม เชิงปฏิบัติการผู้นำชุมชนและชาวประมงไทย – ลาว  เพื่อร่วมกำหนดเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำร่วมกัน 2 ประเทศ
  4. ร่วมกับสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดเชียงราย  องค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนไชย และประมงอำเภอเชียงของ จัดฝึกอบรมผู้นำชุมชน และชาวประมง เรื่อง การเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำ
  5. ร่วมกับประมงจังหวัดเชียงราย สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดเชียงราย และประมงอำเภอเชียงของ ปล่อยลูกปลาท้องถิ่นลงสู่แม่น้ำโขง จำนวนมากกว่า 1 ล้านตัว เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารได้อีกทางหนึ่ง
  6. ร่วมกับประมงจังหวัดเชียงราย สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงของ และประมงอำเภอเชียงของ ผู้นำชุมชน และชาวประมง กำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในแม่น้ำโขง รวม 4 แห่ง   
ปลาบึกแม่น้ำโขง

© WWF-Greater Mekong

โครงการอนุรักษ์ปลาบึกแม่น้ำโขง

© WWF-Thailand

โครงการอนุรักษ์ปลาบึกแม่น้ำโขง

© WWF-Thailand

โครงการอนุรักษ์ปลาบึกแม่น้ำโขง

© WWF-Thailand

สรุปย่อโครงการอนุรักษ์ปลาบึก
เอกสารแนะนำโครงการ
รายงานการศึกษาการวางไข่ของปลาบึกในแม่น้ำโขง จังหวัดเชียงราย
Final report of Analysis of fish larvae to determine spawning sites of the Mekong Giant Catfish