The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกเพื่อการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ (พ.ศ.2551-2554)
บึงโขงหลงเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศลำดับที่ 1,098 ของโลก มีพื้นที่ 13,800 ไร่ ตั้งอยู่พื้นที่อำเภอบึงโขงหลงและอำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ตอนใต้ของบึงมีห้วยน้ำเมาที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำสงครามซึ่งไหลหลงสู่แม่น้ำโขง มีความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างสูง จากการศึกษาพบพืชน้ำอย่างน้อย 75 ชนิด ชนิดพันธุ์พืชบก 256 ชนิด พันธุ์ปลา 64 ชนิด นก 27 ชนิด อย่างไรก็ตามสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าบึงโขงหลงได้รับผลกระทบและภัยคุกคามซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่ อาทิเช่น การทำการประมงที่เกินขนาดและไม่ยั่งยืน น้ำเสียจากแหล่งชุมชน ตลอดจนสารเคมีปนเปื้อนจากพื้นที่เกษตรที่อยู่โดยรอบ ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ WWF ประเทศไทยจึงได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างจิตสำนึกเพื่อการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก evian และ DANONE โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในระยะยาว
© WWF-Thailand
วัตถุประสงค์
- เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและสร้างความเข้าใจที่ถึงคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง (CEPA)
- เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ ตลอดจนทางเลือกอื่นที่ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชน
- เพื่อพัฒนาการกำกับดูแลและจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อใช้วางแผนบริหารจัดการพื้นที่ในระยะยาว
- เพื่อส่งเสริมการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง และนำไปใช้ในการจัดการแม่น้ำโขงต่อไป
พื้นที่ดำเนินงาน
พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬระยะเวลาดำเนินโครงการ
เดือนกรกฎาคม 2551 ถึงเดือนมิถุนายน 2554 รวม 3 ปีกิจกรรมหลัก
- การจัดทำศูนย์ข้อมูลพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง
- จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติเพื่อเรียนรู้ระบบนิเวศบึงโขงหลง
- พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่
- การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการพื้นที่ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- จัดกิจกรรมวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
- การศึกษาวิจัยผลกระทบและปัจจัยคุกคามพื้นที่
- ส่งเสริมกิจกรรมเกษตรยั่งยืน
- จัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง
- การจัดทำและปรับปรุงเวปไซต์เพื่อนำเสนอความก้าวหน้ากิจกรรมโครงการ
ผลการดำเนินงาน
- การจัดทำศูนย์ข้อมูลและนิทรรศการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง จำนวน 1 แห่ง
- จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ พร้อมระบบสื่อความหมาย ระยะทาง 1.4 กม. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศบึงโขงหลง
- พัฒนาระบบการสื่อการเรียนร่วมกับโรงเรียนระดับประถมศึกษา 6 แห่ง และระดับมัธยมศึกษา 2 แห่
- พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่ จำนวน 18 หลักสูตรการเรียนรู้
- จัดหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำให้กับตัวแทนชุมชน อปท. เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จำนวน 1 ครั้ง และอบรมการทำหลักสูตรท้องถิ่นให้กับคณะครูและเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง
- จัดกิจกรรมวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก จำนวน 2 ครั้ง
- ดำเนินการศึกษาวิจัยและติดตามการประเมินทรัพยากรประมงร่วมกับชุมชน
- ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใน 6 หมู่บ้าน
- จัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง 5 ปี (พ.ศ.2553-2557)
- จัดทำเวปไซต์เพื่อเป็นแหล่งนำเสนอข้อมูลบึงโขงหลงและความก้าวหน้ากิจกรรมโครงการฯ (www.wetlandnongkhai.com)
- แลกเปลี่ยนบทเรียนในพื้นที่ในการประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ
© Nicolas Axelrod / WWF-Greater Mekong
© Chaiya Peng-un/WWF-Thailand
© Chaiya Peng-un/WWF-Thailand
© WWF-Thailand