The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
โครงการเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำและฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง จังหวัดนครพนม (พ.ศ.2557-2560)
© WWF-Thailand
ความเป็นมาของโครงการ
แม่น้ำโขงนับว่าเป็นแม่น้ำที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน เช่น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และ ประเทศเวียดนาม และทรัพยากรธรรมชาติจากแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรสัตว์น้ำได้หล่อเลี้ยงชีวิต และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ใน 5 ประเทศ ดังกล่าว กว่า 60 ล้านคน ขณะเดียวกันปัจจุบันแม่น้ำโขงกำลังได้รับการพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งผลกระทบโดยตรงต่ออาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำ หรือปลา ที่หล่อเลี่ยงชีวิตผู้คนมาอย่างช้านานแม่น้ำสงคราม นับว่าเป็นแม่น้ำสาขาสายสำคัญของแม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูผาหลัก ภูเพลิน และภูผาเหล็ก ในเขตอำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ลุ่มน้ำครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 6,473 ตารางกิโลเมตร มีความยาวประมาณ 420 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ติดต่อกัน 33 อำเภอ ของจังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม และไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
แม่น้ำสงคราม มีคุณค่าและความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้การสนับสนุนปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีพของคน และสรรพสัตว์ สิ่งมีชีวิต ทั้งพืช และสัตว์ พอสรุปได้ ดังนี้
- เป็นแหล่งน้ำผิวดินให้แก่แหล่งน้ำโดยรอบ และแม่น้ำโขง รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ พืช สัตว์ ที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ และเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ
- เป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่สำคัญ เป็นพื้นที่รองรับน้ำท่วม ชะลอ ความรุนแรงการไหลบ่าของน้ำ ช่วยดักจับสารเคมี สารพิษ ตะกอนดิน และช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่มนุษย์ และสิ่งมีชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แห ล่งอาหาร แหล่งผสมพันธุ์ และ ทำรั งวางไข่ของสัตว์น้ำที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาหลายชนิดจากแม่น้ำโขง ที่อพยพเข้ามาผสมพันธุ์ และวางไข่ พร้อมทั้งเป็นแหล่งอนุบาลลูกปลาก่อนที่จะออกไปเจริญเติบโตในแม่น้ำโขง เป็นอาหาร และรายได้ที่สำคัญให้แก่ประชากรที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำโขงต่อไป
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มน้ำสงครามในปัจจุบันนับว่ามีความเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก โดยมีภัยคุกคามต่อพื้นที่ 3 ประเด็นหลักคือ การทำการเกษตรที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การประมงที่ไม่ยั่งยืน และการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่นจำกัด หรือ HSBC ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ Water Programme ได้เห็นถึงความสำคัญของแม่น้ำสงครามตอนล่าง จึงให้การสนับสนนุงบประมาณแก่ WWF ประเทศไทย เพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการเสริมสร้างศักยภาพ ความเข้มแข็ง และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำและฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำ รวมทั้งคุณภาพน้ำและปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนการสร้างแบบจำลองอุทกวิทยา
- เพื่อปกป้อง ฟื้นฟู ดูแลรักษาระบบนิเวศน้ำจืดในพื้นที่ลุ่มน้ำ
- เพื่อสนับสนุนให้มีการดำเนินกิจกรรมการบริหารจัดการน้ำ และส่งผลดีต่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชน
- เพื่อเผยแพร่บทเรียน และประสบการณ์ การบริหารจัดการน้ำจากพื้นที่นำร่องสู่ระดับนโยบาย
กิจกรรม/การบริการ/กระบวนการดำเนินงาน
โครงการฯ ดำเนินงานในบริเวณพื้นที่แม่น้ำสงครามตอนล่าง ในเขตการปกครองของอำเภอศรีสงคราม และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จำนวน 6 ตำบล 43 หมู่บ้าน มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 2 ปี 2 เดือน (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 – ธันวาคม 2559)หมายเหตุ ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ เพิ่มเติมอีก 1 ปี (มกราคม – ธันวาคม 2560)
กลไกการอำนวยการโครงการ
ในระดับจังหวัดมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงคราม จังหวัดนครพนม และคณะทำงานระดับพื้นที่อำเภอ เพื่อเป็นคณะทำงานและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมโครงการกรอบและแนวทางการดำเนินงาน
© WWF-Thailand
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
ข้อมูลสนับสนุนการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่แรมซาร์ไซต์
ชนิดพันธุ์ปลาในแม่น้ำสงครามตอนล่าง
ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ 1 เพื่อประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำ รวมทั้งคุณภาพน้ำ และปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนการสร้างแบบจำลองอุทกวิทยา- สำรวจปรับปรุงข้อมูลลุ่มน้ำสงครามตอนล่างที่จัดทำไว้โดย IUCN เมื่อปี 2005
- ชุดข้อมูลการประเมินความเปราะบางจากผลกระทบและการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง
- สนับสนุนระบบการติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในพื้นที่โครงการ ร่วมกับโรงเรียน และ ผู้นำชุมชน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลน้ำ
วัตถุประสงค์ 2 เพื่อปกป้อง ฟื้นฟู ดูแลรักษาระบบนิเวศน้ำจืดในพื้นที่ลุ่มน้ำ
- ศึกษาและจัดทำระบบป้ายสื่อความหมายทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พื้นที่หนองไชยวาน บ้านดอนแดง ต.ท่าบ่อ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
- การสาธิตการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (ไมยราพยักษ์)
- สนับสนุนการจัดตั้งป่าชุมชน การอำนวยความสะดวก และสนับสนุนป้ายป่าชุมชน ป้ายกฎระเบียบ ป้ายแนวเขต และเสาปูนหลักเขตป่าชุมชน จำนวน 35 ป่าชุมชน ใน 37 หมู่บ้าน อันเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และแหล่งรายได้ให้กับชุมชน มีพื้นที่ป่าชุมชนที่ดำเนินการทั้งหมด 12,716 ไร่
- สนับสนุนกิจกรรมปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ เพื่อสร้างแหล่งอาหารและรายได้ให้กับชุมชน ใน 12 หมู่บ้าน จำนวนกล้าไม้ 18,000 ต้น
- จัดตั้งคณะกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดนครพนม รวมทั้งคณะกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำระดับอำเภอทั้งสองอำเภอ เพื่อกลไกในการอำนวยความสะดวกและขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ รวมทั้งเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แลกเปลี่ยนพูดคุยเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการพื้นที่ร่วมกัน
- การจัดประชุมคณะทำงานพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดนครพนม ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสนับสนุนการเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือพื้นที่แรมซาร์ไซต์ (Ramsar Site)
- สนับสนุนการจัดตั้งเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ (วังปลา) รวมทั้งสนับสนุนป้ายเขตอนุรักษ์ หลักเขตวังปลา ทุ่น และเชือกเพื่อจัดทำแนวเขตวังอนุรักษ์ จำนวน 37 แห่ง ใน 37 หมู่บ้าน พื้นที่รวม 1,948 ไร่
วัตถุประสงค์ 3 เพื่อสนับสนุนให้มีการดำเนินกิจกรรมการบริหารจัดการน้ำ และส่งผลดีต่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชน
- สนับสนุนการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยการจัดตั้งกลุ่มปุ๋ยหมัก เพื่อการปรับปรุงคุณภาพดิน คุณภาพน้ำ รวมทั้งลดการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร จำนวน 7 หมู่บ้าน
- การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับดินและการอนุรักษ์ดิน ในหมู่บ้านเป้าหมายจำนวน 7 หมู่บ้าน
- สนับสนุนระบบการควบคุมป้องกันชนิดพันธ์ที่รุกราน โดยนำจอกหูหนูยักษ์มาผลิตเป็นหมักเพื่อใช้ในพื้นที่เกษตรกรรม
- จัดงานรณรงค์เฉลิมฉลองวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก เพื่อรณรงค์ให้ความรู้ และสร้างความตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง จำนวน 2 ครั้ง ระหว่างปี 2558-2559
วัตถุประสงค์ 4 เพื่อเผยแพร่บทเรียน และประสบการณ์ การบริหารจัดการน้ำจากพื้นที่นำร่องสู่ระดับนโยบาย
- จัดทำเอกสารแผ่นพับ แนะนำโครงการ และสื่อนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงาน และกิจกรรมโครงการ
- นำคณะสื่อสารมวลชนจังหวัดนครพนมเยี่ยมชมพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง เพื่อการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการ
- จัดกิจกรรมเชื่อมเครือข่ายชุมชนพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง ระหว่างพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางการจัดการพื้นที่อย่างเป็นระบบ
© Assanai Srasoongnern/WWF-Thailand
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
© Assanai Srasoongnern/WWF-Thailand
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand