The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
“ยกระดับวิถีชีวิตที่ยั่งยืน”
พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำ ประมาณ 36,616 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ประเทศ แต่ในปัจจุบัน พื้นที่เหล่านี้ถูกคุกคามจากการบุกรุก และการพัฒนาในรูปแบบต่างๆระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ มีบทบาทสำคัญต่อความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นได้ทั้งแหล่งน้ำ แหล่งสำรองน้ำ เป็นขอบเขตกั้นการไหลเข้าของน้ำเค็ม ป้องกันการกัดเซาะของชายฝั่ง และช่วยในการป้องกันการตกตะกอน รวมถึงกรองแร่ธาตุและสารพิษอื่นๆ
พื้นที่ชุ่มน้ำยังอุ้มชูประชากรสัตว์ป่าที่หลากหลาย ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ มันเป็นที่อาศัยสำหรับนกอพยพและทำหน้าที่เป็นที่ ผสมพันธุ์และวางไข่สำหรับปลาหลายร้อยสายพันธุ์ ซึ่งรวมไปถึงสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่หายาก เช่น พะยูนหางแฉก (dugong) พะยูนหางกลม(manatee) และโลมาน้ำจืด พื้นที่ชุ่มน้ำโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งดำรงชีวิตที่สำคัญสำหรับคนชนบทส่วนใหญ่ น้ำจืดสร้างรายได้สำหรับผู้คน และยังเป็นแหล่งอาหารที่มีโปรตีน
ภารกิจ
ฝ่ายทรัพยากรน้ำจืด WWF ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการทำงานในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง นั้นก็คือ พื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่บางส่วนของภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน คือ ภายในปี พ.ศ. 2563 พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างยังคงความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสรรพชีวิต ตอบสนองความต้องการในการดำรงชีพได้เหมาะสม รวมทั้งได้รับการบริหารจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยมุ่งเน้นการจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจืด
จุดมุ่งหมาย
- อนุรักษ์ความหลากหลายทรัพยากรน้ำจืด ระบบนิเวศ แหล่งทำรังวางไข่ และชนิดพันธุ์หายากใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
- การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำจืดอย่างชาญฉลาด เจ้าหน้าที่ของรัฐและชุมชนท้องถิ่นร่วมกันบริหารจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐด้านการจัดการทรัพยากรน้ำจืด และพื้นที่ชุ่มน้ำ รวมทั้งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน
- พัฒนาศักยภาพองค์กรภาครัฐและชุมชน สนับสนุนอำนวยความสะดวกจัดตั้งองค์กรระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค เพื่อการบริหารจัดการ รวมทั้งเสริมสร้างจิตสำนึก สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรน้ำจืด เพื่อนำไปสู่การจัดการร่วมกันต่อไป
โครงการในอดีตและปัจจุบัน
- โครงการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในประเทศไทยและลุ่มน้ำโขง จังหวัดบึงกาฬ (พ.ศ.2548-2552)
- โครงการอนุรักษ์ปลาบึกแม่น้ำโขง จังหวัดเชียงราย และแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว (พ.ศ.2550-2554)
- โครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้และคุณภาพชีวิตชุมชนลุ่มน้ำชี อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น (พ.ศ.2550-2554)
- โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกเพื่อการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ (พ.ศ.2551-2554)
- โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนและความมั่นคงของระบบนิเวศโดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการจัดการทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนร่วมในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อการรับมือและปรับตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำสงคราม จังหวัดขอนแก่น (พ.ศ.2554-2557)
- โครงการปรับปรุงการจัดการระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง น้ำเมา แม่น้ำสงคราม แม่น้ำโขง จังหวัดบึงกาฬและจังหวัดนครพนม (พ.ศ.2555-2560)
- โครงการเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำและฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง จังหวัดนครพนม (พ.ศ.2557-2560)
- โครงการร่วมจัดการทรัพยากรประมงระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาว: เพื่อปรับปรุงเพิ่มปริมาณปลาและพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนในแม่น้ำโขงตอนกลาง จังหวัดบึงกาฬและนครพนม (พ.ศ.2559-2562)
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
© Chaiya Peng-un/WWF-Thailand
© Chaiya Peng-un/WWF-Thailand
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand