The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
1. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคการวิจัยสัตว์ป่าเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน ณ สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ
มีเป้าหมายเพื่อ
- เพิ่มความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์เสือโคร่งและสัตว์ป่า
- เรียนรู้เทคนิคการจำแนกร่องรอยและทำเครื่องหมายของเสือโคร่งและเหยื่อ
- เรียนรู้เทคนิคการวิจัยสัตว์ป่า
- การประเมินความหนาแน่นของประชากรเสือโคร่งโดยกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ
- การสำรวจประชากรของเสือโคร่งและเหยื่อโดยวิธี Line transect
- การสำรวจการกระจายและการใช้พื้นที่ของเสือโคร่งและเหยื่อ (Patch Occupancy)
- การสำรวจแบบ Distance Sampling
- การสำรวจเก็บข้อมูลประชากรเหยื่อของเสือโคร่งโดยวิธีนับกองมูล
- การใช้เครื่องมือสำรวจและวิจัยสัตว์ป่า
© DNP & WWF-Thailand
2. การสำรวจการกระจายและการใช้พื้นที่ของเสือโคร่งและเหยื่อในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน (Occupancy Survey)
เป็นวิธีการติดตามการกระจายและการใช้พื้นที่ของเสือโคร่งและเหยื่อ โดยใช้กริดสำรวจจากการปรากฏ-ไม่ปรากฏของสัตว์ป่า กริดสำรวจในอช.แม่วงก์และอช.คลองลานครอบคลุมจำนวน 9 กริด จากทั้งหมด 97 กริด ในผืนป่าตะวันตก ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2554
© DNP & WWF-Thailand
3. การสำรวจประชากรเสือโคร่งโดยใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera trap survey)
เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ยาก เนื่องจากลวดลายและสีสันที่กลมกลืนกับธรรมชาติ การศึกษาประชากรเสือโคร่งโดยใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (camera trap) เป็นวิธีที่มีความเหมาะสมและถูกต้อง แม่นยำ เนื่องจากเสือโคร่งสามารถจำแนกตัวได้จากลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์คล้ายกับลายนิ้วมือคน
© DNP & WWF-Thailand
4. การศึกษาดูงานด้านนิเวศวิทยา พฤติกรรม และลักษณะทางกายภาพของสัตว์ป่า และเสือโคร่ง
เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการวิจัยเสือโคร่ง โดยได้ทำการศึกษาเสือโคร่งโดยตรงรวมทั้งสัตว์ป่านิดอื่นๆ ในสภาพที่ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด รวมทั้งได้ศึกษาพฤติกรรมในฟาร์มเลี้ยงของเสือโคร่งเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปเปรียบเทียบและนำไปประยุกต์ในกาวิจัยเสือโคร่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน โดยมีเจ้าหน้าเข้าร่วม จำนวน 19 คน ระหว่างวันที่ 20-22 พฤษภาคม 2557 ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนเสือศรีราชา และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง จังหวัดชลบุรี
หัวข้อสำคัญในการศึกษาดูงาน
หัวข้อสำคัญในการศึกษาดูงาน
- การจัดการสัตว์ป่าในระบบนิเวศที่มีความหลากหลายของชนิดสัตว์ป่า
- พฤติกรรมนิเวศวิทยาของสัตว์ป่า โดยเฉพาะเสือโคร่ง
- พฤติกรรมนิเวศวิทยา ลักษณะทางกายภาพของเสือโคร่งในฟาร์มเลี้ยง
- การประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อเพิ่มทักษะในการวิจัยสัตว์ป่า โดยเฉพาะเสือโคร่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน
© DNP & WWF-Thailand