The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
© WWF Greater Mekong
เสือโคร่ง
WWF Thailand is working with Kuiburi National Park to study the distribution and abundance of tigers, other large carnivores. There are around 400 tigers left in Thailand.เสือโคร่งอาศัยอยู่ที่ไหนบ้าง ?
โดยปกติเสือโคร่งจะกระจายตัวอยู่ในเขตผืนป่าทั่วทวีปเอเชียและทางตะวันออกของรัสเซีย ในช่วงหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมาพบว่าเสือโคร่งส่วนใหญ่เดินทางไปมาในแถบทวีปเอเชีย
ปัจจุบันแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือมีขนาดลดลงเหลือเพียงร้อยละ 7 จากขนาดพื้นที่เดิม
เสือต่างชนิดจะอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกันเช่น บางชนิดอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น บางชนิดอยู่ในป่าดงดิบหรือป่าชายเลน
อย่างเช่น เสือในภูฏานอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 4,000 เมตร และอยู่ในเขตพื้นที่เดียวกับเสือดาวหิมะ แต่ในซันเดอร์แบน ประเทศอินเดีย เสือสามารถว่ายน้ำในป่าชายเลนกับฉลามหัวบาตรและจระเข้
ปัจจุบันแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือมีขนาดลดลงเหลือเพียงร้อยละ 7 จากขนาดพื้นที่เดิม
เสือและลักษณะเฉพาะในแต่ละถิ่น
เสือต้องการที่อยู่อาศัยที่สมบูรณ์ อุดมด้วยเหยื่อที่เป็นแหล่งอาหาร และมีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตเสือต่างชนิดจะอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกันเช่น บางชนิดอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้น บางชนิดอยู่ในป่าดงดิบหรือป่าชายเลน
อย่างเช่น เสือในภูฏานอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 4,000 เมตร และอยู่ในเขตพื้นที่เดียวกับเสือดาวหิมะ แต่ในซันเดอร์แบน ประเทศอินเดีย เสือสามารถว่ายน้ำในป่าชายเลนกับฉลามหัวบาตรและจระเข้
นักล่าฉายเดี่ยว
เสือโคร่งล่าเหยื่อโดยใช้ประสาทสัมผัสทางตาและฟังเสียง มากกว่าการดมกลิ่น และมักจะออกล่าเพียงตัวเดียว เสือโคร่งจะค่อยๆเข้าใกล้เหยื่อ และจู่โจมเข้าทางด้านข้างหรือด้านหลัง สังหารเหยื่อโดยกัดที่ลำคอหรือบริเวณด้านหลังของส่วนหัว
© WCS, Smithsonian, STF, WWF
การสืบพันธุ์
ชีวิตของเสือ
เสือเป็นสัตว์ที่มีชีวิตสันโดษ ยกเว้นแม่เสือที่มีลูกอ่อน แต่เสือแต่ละตัวจะมีอาณาเขตไม่ไกลกันนัก เสือโคร่งบางตัวอาจมีพฤติกรรมเข้าสังคม เช่น แบ่งปันเหยื่อกันกินเสือโคร่งจะหลบซ่อนตัวอยู่ในถ้ำ โพรงไม้ และในบริเวณที่มีต้นไม้หนาแน่น ส่วนใหญ่จะออกมาในตอนกลางคืน แต่เสือไซบีเรียจะออกมาในช่วงกลางวันของฤดูหนาว
เสือโคร่งแต่ละตัวจะมีอาณาเขตอาศัยเป็นของตัวเอง ในพื้นที่ที่มีเหยื่ออุดมสมบูรณ์ เช่นในอุทยานแห่งชาติ จิตวัน (Chitwan) ที่ประเทศเนปาล เสือตัวเมียครอบครองอาณาเขตราว 10-20 ตารางกิโลเมตร และ 30-70 ตารางกิโลเมตรสำหรับเสือตัวผู้ ในขณะที่รัสเซียมีความหนาแน่นของเหยื่อน้อยกว่า และมีอาณาเขตกว้าง 200-400 ตารางกิโลเมตรสำหรับเสือตัวเมีย และ 800-1,000 ตารางกิโลเมตรสำหรับเสือตัวผู้
การสืบพันธุ์
เมื่อเสือโคร่งโตเต็มวัย ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง จนกระทั่งถึงเวลาที่พร้อมจะผสมพันธุ์ โดยทั่วไป เสือโคร่งตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีขึ้นไป ในขณะที่ตัวผู้ที่อายุเท่ากันก็สามารถผสมพันธุ์ได้ เพียงแต่โอกาสมีน้อยกว่าตัวเมีย เนื่องจากเสือโคร่งตัวผู้ต้องหาอาณาเขตของตัวเองให้ได้ก่อน ซึ่งอาจใช้เวลาอีก 1 – 2 ปี ดังนั้นเสือโคร่งตัวผู้อาจมีอายุถึง 4 – 5 ปี จึงจะสามารถหาตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ได้เสือโคร่งตัวเมียอุ้มท้องประมาณ 3 เดือนก่อนคลอดลูกจำนวน 2 – 7 ตัว แต่ส่วนใหญ่ลูกจะรอดชีวิตจนโตเต็มวัยประมาณ 2 – 3 ตัว เท่านั้น เสือโคร่งตัวเมียเท่านั้นที่ทำหน้าที่เลี้ยงลูก ในขณะที่ตัวผู้จะคอยปกป้องอาณาเขตไม่ให้เสือโคร่งตัวผู้อื่นๆ รุกล้ำ และอาจจะผสมพันธุ์กับเสือโคร่งตัวเมียอื่นๆ ที่อยู่ในอาณาเขตของตน เสือโคร่งตัวผู้ 1 ตัวอาจมีเสือตัวเมียได้ถึง 3 ตัวอาศัยอยู่ในอาณาเขตของตน อย่างไรก็ตามเสือโคร่งตัวเมียเองก็ป้องกันอาณาเขตของตนไม่ให้ตัวเมียตัวอื่นๆ รุกล้ำกล้ำกรายได้เช่นเดียวกัน
เสือโคร่งตัวเมียจะเลี้ยงลูกประมาณ 2 ปี หากเป็นลูกเสือตัวผู้ มันจะเริ่มแยกตัวออกไปหาอาณาเขตของตัวเอง ในขณะที่ลูกเสือตัวเมียอาจอยู่กับแม่ต่อไปจนอายุประมาณ 2.5 ปี จึงแยกตัวออกไป การที่เสือจะเลี้ยงลูกได้ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับจำนวนและชนิดของสัตว์ที่เป็นเหยื่อเป็นสำคัญ โดยเฉลี่ยใน 1 ปี เสือโคร่ง 1 ตัวกินเนื้อประมาณ 3,000 กิโลกรัม แต่แม่เสือที่ต้องเลี้ยงลูก 2 – 3 ตัว ต้องการเนื้อถึง 4,000 กิโลกรัม/ปี ลูกๆ จึงจะมีชีวิตรอด
เสือโคร่งมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 15 ปี
เสือโคร่งถูกพบใน 13 แห่งทั่วโลก
- บังกลาเทศ
- ภูฏาน
- กัมพูชา
- จีน
- อินเดีย
- อินโดนีเซีย (สุมาตรา)
- ลาว
- มาเลเซีย
- พม่า
- เนปาล
- รัสเซีย
- ไทย
- เวียดนาม
© Martin Harvey / WWF
...
เราสูญเสียผืนป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งไปแล้วมากกว่าร้อยละ 93
WWF
ลักษณะภายนอกของเสือโคร่ง
สีและลวดลาย
- ส่วนบนของเสือโคร่งมีสีตั้งแต่โทนแดงส้มไปยังเหลืองปนน้ำตาล ส่วนล่างเป็นสีขาว ลำตัวยังมีลายพาดผ่านเป็นสีดำและเทาเข้ม
- ลวดลายของเสือแต่ละตัวจะต่างกัน และทั้งสองด้านของลำตัวก็จะมีลวดลายไม่เหมือนกันด้วย ในความเป็นจริง ลวดลายของเสือโคร่งแต่ละตัวไม่มีความแตกต่างกันมากนัก
- เสือตัวผู้สังเกตได้จากขนที่คอ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในเสือสุมาตรา
- เสือเบงกอลบางตัวมีสีขาวหรือครีมแทนที่จะเป็นสีส้ม เนื่องจากปรากฎอยู่ในลักษณะด้อยของยีนที่แสดงสี บางครั้งถูกเรียกว่าเสือ “ขาว” นอกจากนี้ เสือเบงกอลยังมีจมูกสีชมพูและตาสีฟ้า
ขนาด
ขึ้นอยู่กับเสือแต่ละสายพันธุ์และเพศ ความยาวของลำตัวรวมความยาวของหางแล้วอยู่ที่ประมาณ 140-300 เซนติเมตร ความยาวหางอยู่ที่ราว 60-95 เซนติเมตรน้ำหนัก
เสือเพศผู้ในสายพันธุ์เสือไซบีเรียซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุด อาจจะมีน้ำหนักถึง 300 กิโลกรัม ในขณะที่เพศผู้ของสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดนั่นคือเสือสุมาตรา มีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 100-140 กิโลกรัม ในแต่ละสายพันธุ์ เสือเพศผู้มักจะหนักกว่าเสือเพศเมีย© WWF Thailand
© Eyes on the Forest
จำนวนประชากรเข้าขั้นวิกฤต
แม้ว่าจะไม่มีตัวเลขยืนยันแน่ชัดในจำนวนของเสือโคร่ง แต่มีการประเมินว่าจำนวนเสือโคร่งลดลงถึงร้อยละ 95 ตั้งแต่เข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ซึ่งลดลงจาก 100,000 ตัว จนเหลือเพียง 3,200 ตัวเท่านั้น
สายพันธุ์เสือที่สูญพันธุ์ไปแล้วจากโลกนี้ตั้งแต่ยุคปี 1980 ได้แก่ เสือบาหลี, เสือชวา และเสือแคสเปียน
แม้ในประเทศอินเดียที่มีความพยายามรักษาสายพันธุ์ แต่รัฐบาลได้เปิดเผยว่า อาจมีเสือหลงเหลืออยู่ไม่ถึง 1,400 ตัว หากประชากรเสือโคร่งยังคงลดลงเรื่อยๆ การฟื้นฟูจำนวนเสือโคร่งอาจไม่สามารถทำได้อีกต่อไป และเสืออาจเข้าสู่ภาวะสูญพันธุ์
สายพันธุ์เสือที่สูญพันธุ์ไปแล้วจากโลกนี้ตั้งแต่ยุคปี 1980 ได้แก่ เสือบาหลี, เสือชวา และเสือแคสเปียน
แม้ในประเทศอินเดียที่มีความพยายามรักษาสายพันธุ์ แต่รัฐบาลได้เปิดเผยว่า อาจมีเสือหลงเหลืออยู่ไม่ถึง 1,400 ตัว หากประชากรเสือโคร่งยังคงลดลงเรื่อยๆ การฟื้นฟูจำนวนเสือโคร่งอาจไม่สามารถทำได้อีกต่อไป และเสืออาจเข้าสู่ภาวะสูญพันธุ์
© WWF
อาหารของเสือโคร่ง
เสืออยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร ส่วนใหญ่เสือโคร่งจะกินสัตว์ขนาดใหญ่ อย่างเช่น หมูป่า กวาง เก้งและกระทิง อาหารที่เสือโคร่งโปรดปรานเป็นพืเศษคือ กวางและหมูป่า
สัตว์ขนาดเล็กอย่างเช่น นก บางคราวก็ตกเป็นเหยื่อของเสือโคร่ง เสือโคร่งในบางพื้นที่ยังกินจระเข้ ปลา นก สัตว์เลื้อยคลาน หรือแม้แต่นักล่าด้วยกันเองอย่างเสือดาวและหมี
เมื่อกินเหยื่อจนอิ่มแล้ว เสือจะนำหญ้าหรือเศษใบไม้มาคลุมไว้ แล้วกลับมากินต่อในสองถึงสามวัน
เสือหนึ่งตัวสามารถกินเนื้อได้ถึง 40 กิโลกรัมในหนึ่งครั้ง เสือต้องกินเก้งถึง 3 ตัวต่อสัปดาห์จึงจะพอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย ถ้ากินกวาง 1 ตัวอาจอยู่ได้ทั้งสัปดาห์ ถ้าเป็นกระทิง เสืออาจอยู่ได้โดยไม่ต้องล่าเหยื่ออีกภายใน 2 สัปดาห์ ในการล่าเหยื่อแต่ละครั้งเสือโคร่งประสบความสำเร็จเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นในขณะที่ต้องสูญเสียพลังงานไปจำนวนไม่น้อย ดังนั้น หากมีเหยื่อขนาดเล็ก เช่น เก้ง เสือโคร่งอาจไม่ได้รับพลังงานมากพอหรือมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์พอที่จะผสมพันธุ์ ยิ่งไปกว่านั้น เสือโคร่งยังมีคู่แข่งที่คอยแย่งอาหารเช่นกัน ได้แก่ หมาใน และเสือดาว เสือดำ ซึ่งต่างก็กินเหยื่อชนิดเดียวกับที่เสือโคร่งกิน ยกเว้น กระทิง ที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่สัตว์ชนิดอื่นจะกินได้ ดังนั้น ในการที่สังคมสัตว์ผู้ล่าที่ประกอบด้วย เสือโคร่ง เสือดาว เสือดำ และหมาใน จะอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องมีสัตว์ที่เป็นเหยื่อหลายชนิด และมีจำนวนมากเพียงพอต่อสัตว์ทั้งหมด
สัตว์ขนาดเล็กอย่างเช่น นก บางคราวก็ตกเป็นเหยื่อของเสือโคร่ง เสือโคร่งในบางพื้นที่ยังกินจระเข้ ปลา นก สัตว์เลื้อยคลาน หรือแม้แต่นักล่าด้วยกันเองอย่างเสือดาวและหมี
เมื่อกินเหยื่อจนอิ่มแล้ว เสือจะนำหญ้าหรือเศษใบไม้มาคลุมไว้ แล้วกลับมากินต่อในสองถึงสามวัน
เสือหนึ่งตัวสามารถกินเนื้อได้ถึง 40 กิโลกรัมในหนึ่งครั้ง เสือต้องกินเก้งถึง 3 ตัวต่อสัปดาห์จึงจะพอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย ถ้ากินกวาง 1 ตัวอาจอยู่ได้ทั้งสัปดาห์ ถ้าเป็นกระทิง เสืออาจอยู่ได้โดยไม่ต้องล่าเหยื่ออีกภายใน 2 สัปดาห์ ในการล่าเหยื่อแต่ละครั้งเสือโคร่งประสบความสำเร็จเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นในขณะที่ต้องสูญเสียพลังงานไปจำนวนไม่น้อย ดังนั้น หากมีเหยื่อขนาดเล็ก เช่น เก้ง เสือโคร่งอาจไม่ได้รับพลังงานมากพอหรือมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์พอที่จะผสมพันธุ์ ยิ่งไปกว่านั้น เสือโคร่งยังมีคู่แข่งที่คอยแย่งอาหารเช่นกัน ได้แก่ หมาใน และเสือดาว เสือดำ ซึ่งต่างก็กินเหยื่อชนิดเดียวกับที่เสือโคร่งกิน ยกเว้น กระทิง ที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่สัตว์ชนิดอื่นจะกินได้ ดังนั้น ในการที่สังคมสัตว์ผู้ล่าที่ประกอบด้วย เสือโคร่ง เสือดาว เสือดำ และหมาใน จะอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องมีสัตว์ที่เป็นเหยื่อหลายชนิด และมีจำนวนมากเพียงพอต่อสัตว์ทั้งหมด
© WWF / Michèle Dépraz
© WWF