The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
“น้ำ” ลมหายใจของชาวชุมชนคลองขนมจีน
“น้ำ” ลมหายใจของชาวชุมชนคลองขนมจีน
สีของน้ำตามธรรมชาติอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการสลายตัวของสารอินทรีย์วัตถุ แต่สิ่งหนึ่งที่น้ำในทั่วทุกมุมโลกมีเหมือนกัน คือความมีอิสระในการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา
น้ำก่อตัวเป็นก้อนเมฆและกลายเป็นฝน เมื่อน้ำฝนลงมาสะสมบนพื้นดินมากขึ้น พวกมันจะเดินทางตามแรงโน้มถ่วงของโลก และไหลมารวมตัวกันจนเกิดเป็นสายน้ำเส้นต่าง ๆ หลายร้อยสายทั่วโลก ซึ่งสายน้ำไม่เพียงแค่แต่งแต้มธรรมชาติให้ชุ่มชื้น แต่ยังหล่อเลี้ยงผู้คน ก่อให้เกิดวิถีชีวิตและประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละพื้นที่
แต่ทว่าน้ำที่มีคุณภาพดี และมีความสมบูรณ์ในโลกใบนี้กำลังจะหมดไป
แม้น้ำจะมีความสำคัญกับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตมากเพียงไร แต่น้ำบนผืนโลกเกือบทั้งหมดอยู่ในมหาสมุทร และมีเพียง 0.03% เท่านั้นที่เป็นน้ำผิวดินที่นำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้จริง และยังไม่รวมถึงมลภาวะน้ำเสียที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
แอน – ปาณิสรา ไพรีพินาศ ผู้ประสานงานโครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ร่วมกับเยาวชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาเป็นเวลามากกว่า 6 ปี ปาณิสรากล่าวว่า ตั้งแต่ยุคโบราณ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญคู่กับการดำรงอยู่ของวิถีชีวิตมนุษย์ ตั้งแต่การบริโภคจนถึงวัฒนธรรม นับตั้งแต่การเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย การเพาะปลูก การกสิกรรม การเลี้ยงดูปากท้องของคนในชุมชน เส้นทางการคมนาคมทางน้ำยังเป็นจุดเชื่อมต่อชุมชนกับโลกภายนอก ทำให้เกิดการค้าขายระหว่างต่างชุมชน จนนำไปสู่การพัฒนาทางทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
“สายน้ำเป็นจุดกำเนิดของความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมทางวัฒนธรรมเป็นจุดเชื่อมโยงคนในชุมชนเข้าด้วยกัน สังคมในจังหวัดอยุธยาเป็นสังคมเกษตรกรรมเหมือนหลายพื้นที่ของประเทศไทย ความเชื่อต่าง ๆ มักมีความเกี่ยวพันกับพระแม่โพสพ (ข้าว) พระแม่ธรณี (ดิน) พระแม่คงคา (น้ำ)”
ทุกปีในช่วงราวเดือนสิบเอ็ด-สิบสอง ชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่มีที่ตั้งริมแม่น้ำลำคลอง ต่างเพลิดเพลินไปกับงานบุญกฐินและประเพณีลอยกระทง โดยระหว่างเดินทาง ชาวบ้านจะนั่งร้องกันในเรือหลังจากกลับจากทำบุญที่วัด และโต้ตอบกันโดยใช้บทกลอน ซึ่งเป็นเรื่องราวของความเป็นอยู่ วิถีชีวิต วัฒนธรรมที่เชื่อมโยงถึงสายน้ำ จนเกิดเป็นเพลงเรือท้องถิ่น ก่อนจะส่งท้ายปีด้วยการจัดเทศกาลแข่งเรือ
ถึงแม้ว่าวิถีชีวิตและประเพณีจะมีการแปรผันไปตามกาลเวลา แต่ปฎิเสธไม่ได้ว่า สายน้ำยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงชาวชุมชนริมน้ำจนถึงปัจจุบัน
โครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำ (Youth Water Guardian) เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.2558 โดยมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ให้เยาวชนเห็นความสำคัญของทรัพยากรน้ำ ผ่านการเข้าค่ายและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ความเชื่อมโยงความสำคัญของน้ำกับมนุษย์ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ และระบบนิเวศโดยรวม รวมถึงการสนับสนุนให้เยาวชนคิดค้นโครงการอนุรักษ์น้ำด้วยการลงสำรวจพื้นที่จริง
“เราอยากให้น้อง ๆ เห็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับแหล่งน้ำ ให้เขามองหาสิ่งที่เขาอยากจะทำให้มันดีขึ้น ส่วนทางโครงการฯ มีหน้าที่สนับสนุนและให้เครื่องมือ เช่น กระบวนการตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น ทั้งแบบเคมี กายภาพ และชีวภาพ รวมทั้งสนับสนุนให้น้องๆ ทำงานและพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนในชุมชน เพราะเราเชื่อว่า งานอนุรักษ์จะยั่งยืนได้ เมื่อต่างฝ่ายต่างทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดและช่วยเหลือกันและกัน”
ศูนย์การเรียนรู้เยาวชนพิทักษ์สายน้ำแห่งแรกของจังหวัดถูกจัดตั้งขึ้นในโรงเรียนสาคลีวิทยา อำเภอเสนา โดยมีกลุ่มนักเรียนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและดำเนินกิจกรรมในสถานีการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่เยาวชนในพื้นที่และบุคคลทั่วไปที่แวะเวียนมาเรียนรู้ดูความสำเร็จของโครงการตลอดทั้งปี
นอกจากนี้ ทางโครงการฯ ยังดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับเครือข่ายเยาวชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีก 16 แห่ง และยังทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานภาคการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เพื่อนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาแปลงเป็นเนื้อหาสำหรับออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่กลุ่มนักเรียนและสมาชิกชุมชนที่ใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางกว่า 21 กิโลเมตรเรียบคลองขนมจีน
จวบจนถึงวันนี้ ความสำเร็จของโครงการเยาวชนพิทักษ์สายน้ำที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของการทำงานตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมาในการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้ตระหนักและเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์แหล่งน้ำในชุมชนของตัวเอง ส่งผลให้แหล่งน้ำในชุมชนมีคุณภาพที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
โดยมีตัวชี้วัดทางธรรมชาติ อาทิ สัตว์น้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกุ้งฝอย หอยกาบ หรือหอยขม รวมถึงสัตว์ที่ใช้ชีวิตวนเวียนอยู่ใกล้น้ำมากไม่แพ้กัน และเป็นอีกหนึ่งดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำสำคัญ นั่นคือ ‘หิ่งห้อย’ ที่เริ่มปรากฎตัวเยอะขึ้นมากกว่าแต่ก่อน
ชุมชนคลองขนมจีนไม่เพียงแค่คงคุณภาพที่ดีของสายน้ำไว้ได้ แต่ยังสามารถสืบสานวัฒนธรรม-ประเพณีท้องถิ่นในอดีตให้ลูกหลานของชุมชนได้รับรู้และร่วมสืบสานมรดกล้ำค่านี้ร่วมกันต่อไป
---------
#WWFThailand
#TogetherPossible