© WWF-Thailand
undefined
ศตวรรษที่ 21 นำมาซึ่งอุปสรรคความท้าทายสองประการต่อมนุษยชาติคือ การธำรงรักษาธรรมชาติ ท่ามกลางการพัฒนาภายใต้เงื่อนไขทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด วาระการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสหประชาชาติในปี 2030 (The UN 2030 Agenda for Sustainable Development) ได้ผสานรูปแบบแนวทางเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาสังคมมนุษย์ให้ยั่งยืนในช่วงยุคแอนโทรโปซีน รูปแบบแนวทางนี้ต้องเชื่อมโยงกันและต้องดำเนินการร่วมกัน นอกจากนี้เราควรทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกลยุทธ์การพัฒนา รูปแบบเศรษฐกิจ รูปแบบธุรกิจ และรูปแบบวิถีชีวิต เพราะเรามีโลกเพียงแค่ใบเดียว แต่ทรัพยากรธรรมชาตินั้นมีอยู่อย่างจำกัด

แนวคิด ‘มุมมองของโลกใบเดียวกัน’ ของ WWF ได้นำเสนอแนวทางที่ดีกว่าเพื่อจัดสรรใช้งาน และแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติภายใต้ขอบเขตระบบนิเวศของโลก แนวคิดดังกล่าวช่วยให้ประเทศต่างๆ ดำเนินการตามเป้าหมายในการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยเริ่มจากการปรับทัศนคติของตัวบุคคล ไปสู่การดำเนินการของแต่ละองค์กร และท้ายสุดคือนโยบายรัฐบาลเพื่อสังคมโลกที่ยั่งยืน

เมื่อนำแนวคิด ‘มุมมองของโลกใบเดียวกัน’ มาปรับใช้กับองค์กรธุรกิจจะช่วยกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ปรับแนวทางการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูโลกให้ดียิ่งขึ้นเพื่ออนาคตเพราะหากเริ่มแก้ไขปัญหาจากปลายเหตุ ผลที่ได้รับจะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ยั่งยืน

แนวคิดภายใต้การเลือกเพื่อสิ่งที่ดีกว่าคือ การมีแหล่งอาหาร แหล่งพลังงาน และแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับทุกชีวิต ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ รักษาความสมดุลของระบบนิเวศและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม การฟื้นฟูระบบนิเวศจะช่วยธรรมชาติในการรองรับและฟื้นตัวจากผลกระทบและความแปรปรวนต่างๆ ที่เกิดขึ้น


© WWF-Thailand

...

เราจำเป็นต้องมีความเข้าใจพื้นฐานร่วมกันว่าเรามีโลกเพียงแค่ใบเดียว แต่ทรัพยากรธรรมชาตินั้นมีอยู่อย่างจำกัด


© WWF-Thailand

แนวคิด 'มุมมองของโลกใบเดียวกัน' ของ WWF ได้นำเสนอแนวทางที่ดียิ่งขึ้นโดยการควบคุมการใช้งานทรัพยากรและแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติภายในขอบเขตระบบนิเวศของโลก การบริโภคอย่างชาญฉลาดอนุรักษ์ต้นทุนทางธรรมชาติ และผลผลิตที่ดียิ่งขึ้นเมื่อดูแลทรัพยากรอย่างเป็นธรรม