The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
© WWF-Thailand
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเรื่องขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก (Planetary Boundaries) เช่น เรื่องระบบโลก (Earth System) ซึ่งพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ เพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบ ปรากฏการณ์ รวมทั้งแนวโน้มต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และยังสามารถสะท้อนให้เห็นวิถีการบริโภคและการผลิตของมนุษย์ ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดความเสียหายต่อทั้งธรรมชาติและมนุษย์เอง
การละเมิดขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก มีด้วยกัน 9 ลักษณะ ได้แก่
1.) ความสมบูรณ์ของชีวมณฑล (Biosphere integrity) หมายถึงการทำลายระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
2.) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3.) ปรากฏการณ์ทะเลกรด
4.) การเปลี่ยนแปลงระบบผืนดิน
5.) การใช้น้ำจืดแบบไม่ยั่งยืน
6.) การไหลของสารเคมีธรณีชีวภาพหรือการไหลของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสู่ชีวมณฑล
7.) การเปลี่ยนแปลงของละอองในบรรยากาศ
8.) มลภาวะจากสารเคมีใหม่
9.) การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere)
กิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ในปัจจุบันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบโลกและกำลังละเมิดขีดจำกัดความปลอดภัยของโลกมากขึ้นไปทุกที ทั้งนี้กรอบแนวคิดด้านขีดจำกัดความปลอดภัยของโลกจะช่วยอธิบายการทำงานของระบบย่อยของโลก (Earth subsystems) ที่มีความสำคัญ ซึ่งถ้าหากมนุษย์ละเมิดขีดจำกัดด้านความปลอดภัยดังกล่าวหมดทุกข้อ ก็ยากที่จะฟื้นความสมบูรณ์และความปลอดภัยให้กลับคืนมาได้
แม้ว่าในทางวิทยาศาสตร์ผลกระทบทางด้านชีวกายภาพและด้านสังคมจากการละเมิดขีดจำกัดความปลอดภัยของโลกจะยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่จากการวิเคราะห์ในปัจจุบันพบว่ามนุษย์ได้กระตุ้นให้เกิดการละเมิดขีดจำกัดความปลอดภัยมาแล้วถึง 4 ข้อ ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากการกระทำของมนุษย์ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความสมบูรณ์ของชีวมณฑลที่ลดน้อยลง การไหลของสารเคมีธรณีชีวภาพ และการเปลี่ยนแปลงระบบผืนดิน นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณการใช้น้ำจืดสูงเกินกว่าระดับที่ปลอดภัย
กรอบแนวคิดขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก มีประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน อีกทั้งยังเน้นให้เห็นความสำคัญของการบริหารจัดการธรรมชาติอย่างครบถ้วนมีข้อกำหนดและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการช่วยลดความเสี่ยงในยุคแอนโทรโปซีน ซึ่งเป็นยุคที่คาดการณ์ว่าจะไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
สิ่งสำคัญคือเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะขีดจำกัดความปลอดภัยด้านใดด้านหนึ่งโดยละเลยการแก้ปัญหาด้านอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เพราะทุกปัญหาล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน ยกตัวอย่าง เช่น การแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ ด้วยการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่แต่เพียงอย่างเดียว แต่ละเลยที่จะศึกษาถึงผลกระทบที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงระบบผืนดิน การไหลเวียนของชีวเคมีธรณี รวมถึงระบบประกอบย่อยอื่นๆ ก็จะไม่สามารถช่วยให้มนุษย์ สามารถก้าวพ้นความเสี่ยงของยุคแอนโทรโปซีนไปได้
การละเมิดขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก มีด้วยกัน 9 ลักษณะ ได้แก่
1.) ความสมบูรณ์ของชีวมณฑล (Biosphere integrity) หมายถึงการทำลายระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
2.) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3.) ปรากฏการณ์ทะเลกรด
4.) การเปลี่ยนแปลงระบบผืนดิน
5.) การใช้น้ำจืดแบบไม่ยั่งยืน
6.) การไหลของสารเคมีธรณีชีวภาพหรือการไหลของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสู่ชีวมณฑล
7.) การเปลี่ยนแปลงของละอองในบรรยากาศ
8.) มลภาวะจากสารเคมีใหม่
9.) การลดลงของโอโซนในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere)
กิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ในปัจจุบันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบโลกและกำลังละเมิดขีดจำกัดความปลอดภัยของโลกมากขึ้นไปทุกที ทั้งนี้กรอบแนวคิดด้านขีดจำกัดความปลอดภัยของโลกจะช่วยอธิบายการทำงานของระบบย่อยของโลก (Earth subsystems) ที่มีความสำคัญ ซึ่งถ้าหากมนุษย์ละเมิดขีดจำกัดด้านความปลอดภัยดังกล่าวหมดทุกข้อ ก็ยากที่จะฟื้นความสมบูรณ์และความปลอดภัยให้กลับคืนมาได้
แม้ว่าในทางวิทยาศาสตร์ผลกระทบทางด้านชีวกายภาพและด้านสังคมจากการละเมิดขีดจำกัดความปลอดภัยของโลกจะยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่จากการวิเคราะห์ในปัจจุบันพบว่ามนุษย์ได้กระตุ้นให้เกิดการละเมิดขีดจำกัดความปลอดภัยมาแล้วถึง 4 ข้อ ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากการกระทำของมนุษย์ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความสมบูรณ์ของชีวมณฑลที่ลดน้อยลง การไหลของสารเคมีธรณีชีวภาพ และการเปลี่ยนแปลงระบบผืนดิน นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณการใช้น้ำจืดสูงเกินกว่าระดับที่ปลอดภัย
กรอบแนวคิดขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก มีประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน อีกทั้งยังเน้นให้เห็นความสำคัญของการบริหารจัดการธรรมชาติอย่างครบถ้วนมีข้อกำหนดและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการช่วยลดความเสี่ยงในยุคแอนโทรโปซีน ซึ่งเป็นยุคที่คาดการณ์ว่าจะไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
สิ่งสำคัญคือเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะขีดจำกัดความปลอดภัยด้านใดด้านหนึ่งโดยละเลยการแก้ปัญหาด้านอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เพราะทุกปัญหาล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน ยกตัวอย่าง เช่น การแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ ด้วยการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่แต่เพียงอย่างเดียว แต่ละเลยที่จะศึกษาถึงผลกระทบที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงระบบผืนดิน การไหลเวียนของชีวเคมีธรณี รวมถึงระบบประกอบย่อยอื่นๆ ก็จะไม่สามารถช่วยให้มนุษย์ สามารถก้าวพ้นความเสี่ยงของยุคแอนโทรโปซีนไปได้