The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
© WWF-Thailand
การลดลงของประชากรสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ มีความเชื่อมโยงกับระบบนิเวศที่ถูกทำลายลงเพราะไม่เพียงส่งผลกระทบโดยตรงกับพืชและสัตว์ป่า แต่ยังส่งผลต่อเนื่องมาถึงมนุษย์ด้วย เนื่องจากระบบนิเวศเป็นแหล่งกำเนิดของอาหาร น้ำจืด อากาศบริสุทธิ์ ยารักษาโรค และยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หากปราศจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น น้ำและอากาศที่บริสุทธิ์ สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการถ่ายละอองเรณูของพืช และช่วยควบคุมการแพร่กระจายของศัตรูพืชและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ได้ไม่หมดสิ้น เช่น พืช สัตว์ อากาศ น้ำ ดิน และทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป เช่น แร่ธาตุ เหล่านี้ล้วนถือเป็น 'ต้นทุนธรรมชาติ' ซึ่งสร้างประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลให้แก่ผู้คนในท้องถิ่น รวมทั้งพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก ประโยชน์เหล่านี้ถือเป็น 'นิเวศบริการ'
ต้นทุนธรรมชาติสามารถดำรงอยู่และเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วยตนเอง แต่จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่นับวันจะยิ่งสร้างความเสียหายให้กับโลกมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม การทำประมงที่มากเกินกว่าระดับที่เหมาะสม โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยมลภาวะลงในแหล่งน้ำจืด การเติบโตของเมือง รวมทั้งวิธีการเกษตรและการประมงที่ไม่ยั่งยืน ทุกอย่างล้วนส่งผลให้ต้นทุนธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็วเพราะไม่สามารถผลิตทดแทนได้ทัน เราจึงประสบกับภาวะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการขาดแคลนแหล่งอาหารและน้ำสะอาด ส่งผลให้สินค้าจำนวนมากมีราคาแพงขึ้น เกิดการแก่งแย่งที่ดินและน้ำเพื่อการดำรงชีวิต
การแก่งแย่งต้นทุนทางธรรมชาติก่อให้เกิดความขัดแย้ง การอพยพย้ายถิ่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัยและความแห้งแล้ง รวมไปถึงส่งผลกระทบด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ และสภาพความเป็นอยู่ที่เต็มไปด้วยความยากลำบากและขัดแย้งมากขึ้น
ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ได้ไม่หมดสิ้น เช่น พืช สัตว์ อากาศ น้ำ ดิน และทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป เช่น แร่ธาตุ เหล่านี้ล้วนถือเป็น 'ต้นทุนธรรมชาติ' ซึ่งสร้างประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลให้แก่ผู้คนในท้องถิ่น รวมทั้งพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก ประโยชน์เหล่านี้ถือเป็น 'นิเวศบริการ'
ต้นทุนธรรมชาติสามารถดำรงอยู่และเติบโตได้อย่างยั่งยืนด้วยตนเอง แต่จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่นับวันจะยิ่งสร้างความเสียหายให้กับโลกมากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม การทำประมงที่มากเกินกว่าระดับที่เหมาะสม โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยมลภาวะลงในแหล่งน้ำจืด การเติบโตของเมือง รวมทั้งวิธีการเกษตรและการประมงที่ไม่ยั่งยืน ทุกอย่างล้วนส่งผลให้ต้นทุนธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็วเพราะไม่สามารถผลิตทดแทนได้ทัน เราจึงประสบกับภาวะขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการขาดแคลนแหล่งอาหารและน้ำสะอาด ส่งผลให้สินค้าจำนวนมากมีราคาแพงขึ้น เกิดการแก่งแย่งที่ดินและน้ำเพื่อการดำรงชีวิต
การแก่งแย่งต้นทุนทางธรรมชาติก่อให้เกิดความขัดแย้ง การอพยพย้ายถิ่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัยและความแห้งแล้ง รวมไปถึงส่งผลกระทบด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ และสภาพความเป็นอยู่ที่เต็มไปด้วยความยากลำบากและขัดแย้งมากขึ้น