© WWF-Thailand
นับแต่ต้นศตวรรษ 1970 เป็นต้นมา มนุษย์ใช้ทรัพยากรมากเกินกว่าที่โลกสามารถสร้างขึ้นทดแทนได้ ในปี 2012 ความต้องการพื้นที่การผลิตทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้มนุษย์ใช้บริโภค มีขนาดเทียบเท่าขนาดโลกถึง 1.6 ใบ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินขีดจำกัดในการผลิตทางชีวภาพสามารถทำได้เฉพาะช่วงสั้นๆ เท่านั้น กล่าวคือ ภายในระยะเวลาสั้นๆเราสามารถตัดต้นไม้ได้เร็วกว่าการปลูกทดแทน จับปลาในทะเลได้มากกว่าการขยายพันธุ์หรือปล่อยคาร์บอนในชั้นบรรยากาศได้มากกว่าที่ป่าไม้และมหาสมุทรจะดูดซับได้ ผลของ 'การใช้ทรัพยากรเกินขีดจำกัด' ปรากฏให้เห็นชัดเจนทั้งจำนวนสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ ที่ลดลง และระดับการสะสมของคาร์บอนในชั้นบรรยากาศมากขึ้น

จากข้อมูลรอยเท้านิเวศ (Ecological Footprint) ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา พบว่าในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว รอยเท้านิเวศก็ลดลงตามไปด้วย เช่น ในช่วงวิกฤตน้ำมันปี 1973 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศ OECD ในช่วงปี 1980-1982 รวมถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในช่วงปี 2008-2009 ซึ่งสวนทางกับเป้าหมายที่ทางเครือข่าย Global Footprint Network ตั้งไว้ ที่จะเน้นการรณรงค์ลดผลกระทบต่อโลกจากกิจกรรมของมนุษย์เพราะหลังจากที่เศรษฐกิจฟื้นตัวรอยเท้านิเวศก็กลับมามีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
 

การสำรวจรอยเท้านิเวศจากการบริโภค

รอยเท้านิเวศ เป็นการคำนวณความต้องการของมนุษย์จากขนาดพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ใช้รวมทั้งการดูดซับของเสียจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิล การเปลี่ยนแปลงการใช้ผืนดิน และการผลิตซีเมนต์ โดยคำนึงถึงความต้องการใน 6 ประเภทดังต่อไปนี้:

© WWF-Thailand

รอยเท้านิเวศ ที่เกิดจากการบริโภค

© WWF-Thailand