The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
© National Geographic stock / Jim Richardson / WWF
เราเป็นหนี้โลก
กว่า 40 ปีที่ผ่านมา ความต้องการของมนุษย์มากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะสร้าง
ทดแทนได้ เราต้องการโลกถึง 1.5 ใบเพื่อตอบสนองนิเวศบริการที่เราใช้ทุกวันนี้ได้ “หนี้
นิเวศ” (Overshoot) เกิดขึ้นเพราะเราตัดต้นไม้ได้เร็วกว่าที่ต้นไม้จะโตเต็มที่ จับปลาได้
มากกว่าที่มหาสมุทรจะสามารถเติมเต็มให้เราใหม่ได้ หรือปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สู่บรรยากาศมากกว่าที่ผืนป่าและมหาสมุทรจะดูดซับได้
ผลที่ตามมาคือทรัพยากรที่มีสะสมอยู่ลดน้อยลงและมีการสะสมของของเสียเร็วกว่าที่ความสามารถที่จะถูกดูดซับหรือรีไซเคิลได้ เช่น ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น
รอยเท้านิเวศ (The Ecological Footprint) ได้รวบรวมความต้องการทางนิเวศบริการของมนุษย์ซึ่งแข่งขันกันในเชิงพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่การผลิตทางชีวภาพ (หรือ ความสามารถรองรับเชิงนิเวศของโลก; biocapacity) ที่จำเป็นสำหรับการเพาะปลูก ทุ่งเลี้ยงสัตว์ สิ่งปลูกสร้าง การประมง หรือผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ รวมถึงพื้นที่ป่าที่จำเป็นต่อการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในส่วนที่ไม่สามารถดูดซับได้โดยมหาสมุทรทั้งความสามารถรองรับเชิงนิเวศของโลกและรอยเท้านิเวศแสดงในหน่วยที่เรียกว่าเฮกแตร์โลก (global hectare; gha)
คาร์บอนจากการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นส่วนสำคัญของรอยเท้านิเวศของมนุษย์ในช่วงกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาและยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 1961 คาร์บอนมีปริมาณร้อยละ 36 ของรอยเท้านิเวศของมนุษย์ทั้งหมด แต่ในปี2010 คาร์บอนเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 53 ของรอยเท้านิเวศ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ปัจจัยผลิตทางการเกษตร และการชลประทานทำให้ค่าเฉลี่ยของผลผลิตต่อเฮกแตร์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกและทำให้ความสามารถรองรับเชิงนิเวศของโลกเพิ่มขึ้นจาก 9,900 ล้านเฮกแตร์โลกเป็น 12,000 ล้าน เฮกแตร์โลกในช่วงระหว่างปี 1961 ถึงปี 2010
แต่ถึงกระนั้นในช่วงเวลาเดียวกันประชากรมนุษย์ก็เพิ่มขึ้นจาก 3,100 ล้านคนจนเกือบ 7,000 ล้านคน ซึ่งทำให้ความสามารถรองรับเชิงนิเวศของโลกต่อคนลดลงจาก 3.1 เฮกแตร์โลกเหลือเพียง 1.7 เฮกแตร์โลกเท่านั้น และรอยเท้านิเวศก็เพิ่มขึ้นจาก 2.5 เป็น 2.7 เฮกแตร์โลกต่อคน แม้ว่าความสามารถในการรองรับเชิงนิเวศของโลกจะเพิ่มขึ้นทั่วโลก แต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะ กระจายอย่างทั่วถึง
ด้วยประชากรโลกที่คาดว่าจะสูงถึง 9,600 ล้านคนภายในปี 2050 และ 11,000 ล้านคนในปี 2100 ความสามารถในการรองรับเชิงนิเวศของโลกต่อคนจะลดลงอย่างมากในอนาคตและนี่คือความท้าทายที่มากขึ้นสำหรับมนุษย์ที่จะรักษาความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการรองรับเชิงนิเวศของโลกในขณะที่ภาวะดินเสื่อมสภาพ น้ำจืดขาดแคลน และค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ : Global Footpint Network
รอยเท้านิเวศ (The Ecological Footprint) ได้รวบรวมความต้องการทางนิเวศบริการของมนุษย์ซึ่งแข่งขันกันในเชิงพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่การผลิตทางชีวภาพ (หรือ ความสามารถรองรับเชิงนิเวศของโลก; biocapacity) ที่จำเป็นสำหรับการเพาะปลูก ทุ่งเลี้ยงสัตว์ สิ่งปลูกสร้าง การประมง หรือผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ รวมถึงพื้นที่ป่าที่จำเป็นต่อการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในส่วนที่ไม่สามารถดูดซับได้โดยมหาสมุทรทั้งความสามารถรองรับเชิงนิเวศของโลกและรอยเท้านิเวศแสดงในหน่วยที่เรียกว่าเฮกแตร์โลก (global hectare; gha)
คาร์บอนจากการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นส่วนสำคัญของรอยเท้านิเวศของมนุษย์ในช่วงกว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาและยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 1961 คาร์บอนมีปริมาณร้อยละ 36 ของรอยเท้านิเวศของมนุษย์ทั้งหมด แต่ในปี2010 คาร์บอนเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 53 ของรอยเท้านิเวศ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ปัจจัยผลิตทางการเกษตร และการชลประทานทำให้ค่าเฉลี่ยของผลผลิตต่อเฮกแตร์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกและทำให้ความสามารถรองรับเชิงนิเวศของโลกเพิ่มขึ้นจาก 9,900 ล้านเฮกแตร์โลกเป็น 12,000 ล้าน เฮกแตร์โลกในช่วงระหว่างปี 1961 ถึงปี 2010
แต่ถึงกระนั้นในช่วงเวลาเดียวกันประชากรมนุษย์ก็เพิ่มขึ้นจาก 3,100 ล้านคนจนเกือบ 7,000 ล้านคน ซึ่งทำให้ความสามารถรองรับเชิงนิเวศของโลกต่อคนลดลงจาก 3.1 เฮกแตร์โลกเหลือเพียง 1.7 เฮกแตร์โลกเท่านั้น และรอยเท้านิเวศก็เพิ่มขึ้นจาก 2.5 เป็น 2.7 เฮกแตร์โลกต่อคน แม้ว่าความสามารถในการรองรับเชิงนิเวศของโลกจะเพิ่มขึ้นทั่วโลก แต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะ กระจายอย่างทั่วถึง
ด้วยประชากรโลกที่คาดว่าจะสูงถึง 9,600 ล้านคนภายในปี 2050 และ 11,000 ล้านคนในปี 2100 ความสามารถในการรองรับเชิงนิเวศของโลกต่อคนจะลดลงอย่างมากในอนาคตและนี่คือความท้าทายที่มากขึ้นสำหรับมนุษย์ที่จะรักษาความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการรองรับเชิงนิเวศของโลกในขณะที่ภาวะดินเสื่อมสภาพ น้ำจืดขาดแคลน และค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ : Global Footpint Network