What would you like to search for?

FLR349 Learning Exchange: กิจกรรมแลกเปลี่ยนแนวคิดการทำเกษตรกรรมยั่งยืน การบริหารงานกลุ่มเกษตรกรและการขับเคลื่อนงานวิสาหกิจชุมชมเกษตรกร

28 March 2023

วันที่ 13-14 มีนาคม 2566 ณ พื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ในอดีตก็เต็มไปด้วยป่าไม้ที่รายล้อมชุมชน แต่แล้วเมื่อการส่งเสริมเกษตรแผนใหม่ที่เน้นระบบเกษตรเชิงเดี่ยว มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างเข้มข้น ถึงแม้ว่าโครงการ FLR349 ได้สนับสนุนให้เกษตรกรสมาชิกปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมีทางเกษตรควบคู่ไปกับการปลูกไม้ยืนต้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวให้กลับมาให้มากที่สุด แต่ด้วยเกษตรกรสมาชิกได้ทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นเวลานาน ทำให้การทำเกษตรในหมู่สมาชิกจึงจำกัดอยู่กับประสบการณ์การทำเกษตรที่พึ่งพาการซื้อปัจจัยการผลิตแบบที่ผ่านมา ดังนั้น คำว่า “เกษตรอินทรีย์ หรือ เกษตรกรรมยั่งยืน” สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จึงถือว่าใหม่มาก

ด้วยพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เองก็มีเคลือข่ายผู้ผลิตเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีความเข้มแข็งมาก มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแง่การผลิตและการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการตลาดร่วมกับเครือข่ายผู้ผลิตในภูมิภาคอื่นอย่างต่อเนื่อง จึงถือเป็นโอกาสดีที่ WWF ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนกับผู้นำกลุ่มเคลือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 13-14 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อให้สมาชิกนำแนวคิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของชุมชนและสร้างเครือข่ายผู้ผลิตเกษตรกรรมยั่งยืนให้เข้มแข็งขึ้นในอนาคต
 

โดยวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2566 เกษตรกรสมาชิกโครงการ FLR349 ได้เดินทางมาแลกเปลี่ยนกับแกนนำเกษตรกร ณ แม่ทาออร์แกนิค อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ในเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งแม่ทาออร์แกนิคถือเป็นชุมชนผู้ผลิตระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่ทำงานเข้มแข็งมากเป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปี นับตั้งแต่พ่อพัฒน์ อภัยมูล จนถึงเกษตรกรรุ่นปัจจุบัน โดยมีการแลกเปลี่ยนกันอยู่หลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาวัตถุดิบมาผสมเป็นอาหารไก่ ไปจนถึงการบริหารและการจัดการกลุ่ม ซึ่งความเด่นของที่นี้ คือ การเลี้ยงหนอนทหารดำ (หนอนแมลงวันลาย) จากเศษอาหารในครัวเรือน สำหรับไก่แล้ว หนอนถือเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเลิศ ต้นทุนในการผลิตต่ำมาก และได้ไข่ไก่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น การเลี้ยงหนอนเป็นอาหารไก่ เกษตรกรจาก อ.แม่แจ่ม ให้ความสนใจอย่างมาก เพราะนำมาปรับใช้ในชุมชนของตนเองได้
 
 

สำหรับการจัดการกลุ่มสมาชิก ได้นำคนในครอบครัวมาเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ทำให้ลดช่องว่างระหว่างสามีและภรรยาลง การทะเลาะกันจึงลดลง เพราะการที่คนในครอบครัวเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม จึงมีการประชุมในหมู่ผู้ผลิตในชุมชนอยู่บ่อยครั้ง คนในครอบครัว ไม่ว่าจะสามีหรือภรรยาต่างต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ต่างกับสมัยรุ่นพ่อ ที่สามีเป็นเกษตรกรสมาชิก ส่วนภรรยาเป็นแม่บ้าน ทำให้มีช่องว่างมากกว่าสมาชิกรุ่นปัจจุบัน เมื่อฟังดูแล้วอาจจะดูแปลก แต่ก็มีผลต่อการบริหารระบบกลุ่มเป็นอย่างมาก
 

ช่วงบ่ายก็นำเกษตรกรสมาชิกมาที่ Echo Asia Regional Impact Center ที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยจุดเด่นของที่นี้ คือ การทำธนาคารเมล็ดพันธุ์และเป็นศูนย์ฝึกอบรมสำหรับเกษตร ซึ่งเกษตรกรสามารถเข้ามาเรียนรู้และฝึกงานการทำเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่ Echo Asia มีแปลงสาธิตทั้งพืชไร่และพืชสวน รวมถึงฟาร์มปศุสัตว์ให้เรียนรู้แบบครบวงจร รวมถึงโรงเพาะหนอนแมลงสำหรับนำไปเป็นอาหารเลี้ยงหมูและอาหารเลี้ยงไก่
 
 

พื้นที่เรียนรู้ของ Echo Asia จะจัดชุดการเรียนรู้ที่เกษตรกรสามารถนำไปปรับให้เหมาะสมตามบริบทและข้อจำกัดในแต่ละพื้นที่ อาทิเช่น อาหารหมักที่เกิดจากการนำหน่อกล้วยมาสับให้ละเอียด แล้วนำไปหมักในถึงร่วมกับน้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล ซึ่งอาหารหมักที่ได้สามารถผสมรวมกับช้าวโพดบด ถั่วเหลือง หรือแหล่งโปรตีนอื่นที่สามารถหาซื้อได้ในท้องถิ่น หรืออาจจะผสมร่วมกับอาหารสัตว์ตามท้องตลาดก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม ซึ่งวิธีดังกล่าวอาจไม่ถือว่าเป็นระบบการผลิตที่เป็นอินทรีย์ แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดการพึ่งพาอาหารสัตว์ที่ขายตามร้านค้าและลดต้นทุนการผลิตลดไปได้ไม่น้อย และปูทางพัฒนาระบบการผลิตให้เป็นเกษตรกรรมยั่งยืนได้ในอนาคต
 

ถัดมาวันที่ 14 มีนาคม 2566 เกษตรกรสมาชิก FLR349 ก็ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนกับเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ต้นน้ำแม่ฮาว อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานเกษตรกรรมยั่งยืนร่วมกับกลุ่มแม่ทามาไม่ต่ำกว่า 20 ปี โดยผลผลิตก็มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้าว พืชผัก ไปจนถึงฟาร์มหมูในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ชุมชนเกษตรกรแห่งนี้มีการร่วมกลุ่มที่เข้มแข็ง มีการแบ่งหน้าที่การทำงานกันชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายการเงินและสินเชื่อ ผ่ายตรวจสอบการผลิต ไปจนถึงฝ่ายแปรรูป
 
 

การแลกเปลี่ยนที่นี้จะเน้นไปที่ระบบปศุสัตว์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน การจัดการโรงเรือนและสุขอนามัย ซึ่งที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์แห่งนี้สามารถผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงหมูได้เอง เนื่องจากมีโรงสีข้าวชุมชน และมีเครืองโม่สำหรับผสมวัตถุดินจนเป็นอาหารสัตว์ได้เอง โดยเกษตรกรที่มาแลกเปลี่ยนสามารถจดสูตรอาหารของที่นี้และนำไปปรับใช้ในชุมชนของตนเองได้เลย 
 

และเป็นความโชคดีที่ระหว่างเดินทางกลับก็ตรงกับวันจัดข่วงเกษตรอินทรีย์พอดี คุณจรัญญา สังขชาติ จึงพาสมาชิกโครงการ FLR349 มาพบป่ะผู้ผลิตเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน จ.เชียงใหม่ เป็นการส่งท้ายก่อนกลับ โดยการจัดการข่วงเกษตรอินทรีย์แห่งนี้ใช้วิธีการจัดการตลาดที่สร้างระบบการตรวจสอบแบบ 2 ทาง ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยเกษตรกรในแต่ละเครือข่ายจะทีมตรวจสอบระบบการผลิตในแต่ละกลุ่ม และจะมีคณะกรรมการตลาดที่ประกอบด้วยตัวแทนเครือข่ายฯ ของแต่ละกลุ่มเข้ามาประชุมกันทุก 3 เดือนเพื่อกำหนดราคาขายผลผลิตที่ชัดเจนและป้องกันการขายตัดราคา ทุกร้านจะมีชื่อและเลขโต๊ะเป็นของตนเอง
 

ความน่าสนใจ คือ หากร้านค้าไหนมีการนำผลผลิตที่น่าสงสัยว่าอาจการมีนำผลผลิตที่ไม่ได้ผลิตในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนมาวางขาย เช่น ผักดูสวยกว่าปกติ มีผลผลิตนอกฤดูกาลมาวางขาย หรือผักผลไม้ดูใหญ่กว่าปกติ ลูกค้าสามารถนำเลขร้านค้าไปรายงานคณะกรรมการให้ลงไปตรวจสอบ หรือลูกค้าจะลงไปตรวจสอบแปลงปลูกร่วมกับคณะกรรมการด้วยก็ได้ ทำให้ตลาดแห่งนี้ มีลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่รู้จักและสื่อสารกับผู้ผลิตทุกครั้งที่มีการจับจ่ายใช้สอย ณ ข่วงเกษตรอินทรีย์แห่งนี้     
 
Media Contact
Abhinand Aryapratheep
+662-618-4303-05
Donate
Donate