The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
7 ขั้นตอนสู่ Eco-Schools
ขั้นตอน 1: จัดตั้ง Eco Committee
-
Eco Committee คือส่วนสำคัญในการผลักดันขั้นตอนของ Eco-Schools และจะเป็นแกนนำในการวางแผนกิจกรรมต่างๆของโครงการ
-
Eco Committee ควรจัดตั้งโดยมีนักเรียนเป็นแกนนำ และมีสมาชิกที่เป็นนักเรียนมากกว่าครึ่ง
-
Eco Committee ต้องมั่นใจว่าทุกคนในโรงเรียนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ Eco-Schools รวมถึงคอยรายงานสถานการณ์และอัพเดทสถานะของ Eco-Schools อยู่เสมอ
-
Eco Committee ควรประกอบด้วย นักเรียน ครู ผู้อำนวยการ บุคลากรที่ไม่ใช่ครู (เช่น เลขานุการ พนักงานธุรการ แม่บ้าน ภารโรง) ผู้ปกครอง กลุ่มธุรกิจ องค์กรอิสระ และ ตัวแทนชุมชนรอบโรงเรียน
-
Eco Committee ต้องมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อพูดคุยในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมที่นำไปสู่การปฏิบัติกิจกรรมจริงในโรงเรียน
ขั้นตอน 2: ทบทวนปัญหาสิ่งแวดล้อม
-
การทบทวนปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ช่วยให้ทราบถึงสิ่งที่ดี และ สิ่งที่ต้องปรับปรุงในโรงเรียน เพื่อหาแนวทางการแก้ไขในขั้นต่อไป
-
เป้าหมายคือ การตรวจสอบประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชุนรอบข้าง
-
12 หัวข้อสิ่งแวดล้อมควรถูกประเมินทุกปี (โรงเรียนสามารถเลือกหัวข้อสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่ตัวเองสนใจได้)
-
เพื่อสร้างความมั่นใจว่าชุมชุนรอบข้าง ชุมชนสามารถทำงานร่วมกับโรงเรียน และ Eco Committee ในการทบทวนสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือเน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียนทุกคนในการทบทวนปัญหาสิ่งแวดล้อม
-
ผลลัพธ์ของการทบทวนปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นข้อมูลในการทำ Action Plan
ขั้นตอน 3: ออกแบบแผนกิจกรรม (Action Plan)
-
Action Plan คือส่วนสำคัญของการทำงาน Eco-Schools โดย Action Plan ควรถูกพัฒนาโดยผลลัพธ์ของการทบทวนปัญหาสิ่งแวดล้อม
-
ใช้การทบทวนปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อระบุความสำคัญของปัญหาในโรงเรียนที่ควรได้รับการแก้ไขก่อนตาม 12 หัวข้อสิ่งแวดล้อม แนะนำให้ดำเนินงานไม่เกิน 3 หัวข้อสิ่งแวดล้อมต่อปีการศึกษา
-
สร้าง Action Plan เพื่อแก้ปัญหา และ ปรับปรุงปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ดีขึ้น โดย Action Plan ควรประกอบด้วย ขั้นตอนการลงมือทำ บุคคลผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน และ ระยะเวลาที่จะสำเร็จตามเป้าหมาย
-
เช่นเดียวกับขั้นตอนอื่นของ Eco-Schools นักเรียนทุกคนควรมีส่วนร่วมมากเท่าที่มากได้ในการออกแบบ Action Plan
ขั้นตอน 4: สังเกตและประเมินผล
-
ในการที่จะค้บพบว่าการดำเนินกิจกรรมสามารถเข้าสู่เป้าหมายได้ตาม Action Plan หรือไม่ จำเป็นต้องมีการสังเกตและประเมิน เพื่อชี้วัดความคืบหน้า
-
เช่นเคย นักเรียนควรจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในกิจกรรมการสังเกตและประเมิน
-
ผลลัพธ์ของการสังเกตและประเมินควรจะถูกรายงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนรับทราบ
-
วิธีการสังเกตที่ใช้ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และเกณฑ์การชี้วัดควรสอดคล้องกับกับ Action Plan ในหัวข้อที่ได้ระบุไว้
-
การประเมินควรเป็นไปตามการสังเกตการณ์ การประเมินความสำเร็จของกิจกรรมจะช่วยให้สามารถปรับปรุง Action Plan ให้ดีขึ้นได้
ขั้นตอน 5: เชื่อมโยงหลักสูตร
-
การเชื่อมโยงกิจกรรมของโครงการ Eco-Schools กับหลักสูตรการสอนของโรงเรียนจะช่วยยืนยันถึงการบูรณาการกิจกรรมภายในโรงเรียน
-
บูรณาการกิจกรรมของ Eco-Schools เข้ากับหลักสูตรของโรงเรียน โดยผ่านวิชาเรียน เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาและพลเมือง สิ่งแวดล้อม ศิลปะ ภาษาอังกฤษ หรือ วิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
-
นักเรียนควรได้รับการเสริมสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลและมีอยู่ในชีวิตประจำวัน
ขั้นตอน 6: ให้ข้อมูลและมีส่วนร่วม
-
ให้ทุกคนมีส่วนร่วม! กิจกรรมไม่ควรถูกจำกัดแต่ในโรงเรียน นักเรียนสามารถนำกิจกรรมไปทำที่บ้าน หรือนำกิจกรรมที่บ้านมาต่อยอดที่โรงเรียน
-
เป็นสิ่งสำคัญที่จะให้ทุกคนในโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วม และนำไปสู่การมีส่วนร่วมกับชุมชนภายนอก ให้ชุมชุนภายนอกรับรู้และเข้าใจใน Eco-School
-
การให้ข้อมูลและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สามารถเป็นได้หลายรูปแบบ เช่น การประชุมนักเรียน บอร์ดกิจกรรม สื่อสิ่งพิมพ์ภายในโรงเรียน เว็บไซต์ การแสดงละครประจำปี การประกวดภายในโรงเรียน จดหมายข่าวถึงภาคธุรกิจใกล้โรงเรียน วิทยุชุมชน หรือ หนังสือพิมพ์ชุมชน
-
จัด Global Action Days หรือ งานประจำปีทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้นักเรียนทั้งโรงเรียนมีส่วนร่วมและเชิญบุคคลภายนอก เช่น ชุมชนรอบข้างมาร่วมกิจกรรม งานประจำปีสามารถเป็นในรูปแบบของ งานกีฬาสี งานแฟร์ นิทรรศการ งานวันสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ขั้นตอน 7: สร้างพันธกิจ Eco (Eco-Code)
-
พันธกิจ Eco คือ ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการให้คำมั่นของโรงเรียนที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
-
ควรจะจดจำได้ง่าย และ เข้าถึงทุกคนภายในโรงเรียนได้
-
รูปแบบของพันธกิจ Eco ยืดหยุ่น สามารถเป็นได้ทั้งเพลง รูปภาพ กลอน คำขวัญ หรือ อื่นๆ
-
พันธกิจ Eco ควรประกอบด้วยจุดประสงค์หลักที่มีใน Action Plan
-
สำคัญมาก ที่จะให้นักเรียนเป็นตัวหลักในการพัฒนา สรรค์สร้าง พันธกิจ Eco เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อพันธกิจที่พวกเขาสร้างขึ้น
-
เนื้อหาของ พันธกิจ Eco ควรถูกประเมินใหม่ทุกปีเพื่อสร้างความมั่นใจว่า พันธกิจ Eco ได้สะท้อนถึงเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจริง
คู่มือ 7 ขั้นตอน สู่ Eco-Schools