The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
Julian Huxley ได้ตีพิมพ์ชุดบทความเกี่ยวกับการสังเกตการณ์ถึงวิกฤตทางธรรมชาติในทวีปแอฟริกาลงในหนังสือพิมพ์ US Observer ซึ่งหลังจากนั้นเขาได้รับการติดต่อจากนักธุรกิจที่ชื่อว่า Victor Stolan ในเดือนธันวาคมปี 1960 ผู้มีความตั้งใจที่จะระดมทุนเพื่อก่อตั้งกลุ่มองค์กรที่มีหน้าที่ในการอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า ต่อมา Julian Huxley , Max Nicholson และทีมงานอีกหลายคนก็ได้ตัดสินใจก่อตั้งองค์กร WWF ในช่วงปีถัดมา
ด้วยความร่วมมือจากองค์กรต่างๆไม่ว่าจะเป็นองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ , องค์การสหประชาชาติและองค์กรอื่นๆอีกมากมายทำให้ WWF สามารถเดินรุดหน้าไปได้อย่างรวดเร็วจวบจนถึงปัจจุบัน
© WWF / Eric HOSKING
"ร่วมกันพิทักษ์สัตว์โลก" กลายเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วไปและองค์กรต่างๆ WWF สามารถระดมทุนได้สูงถึง 1.9 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐสำหรับการจัดการโครงการต่างๆในทวีปแอฟริกา , ยุโรปและประเทศอินเดียได้ในช่วงสามปีแรกที่ทำการก่อตั้ง
© TRAFFIC China
© WWF Intl. / WWF
สื่อโทรทัศน์เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น , การเติบโตทางเศรษฐกิจของภาวะหลังสงครามและความเกี่ยวข้องกับการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและการกำจัดของเสีย อีกทั้งยังมีการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
ในช่วงศตวรรษที่ 17 เป็นช่วงเวลาที่มีการจัดตั้งองค์กรและกลุ่มทุนทางธุรกิจต่างๆซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางมลพิษและสิ่งแวดล้อมมากมาย การปรากฏตัวของ WWF ทำให้สาธารณชนตระหนักถึงปัญหาการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตอย่างแพร่หลาย นี่ก็เป็นช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติเริ่มที่จะได้รับความสนใจอย่างจริงจัง
วิถีชีวิตของผู้คนในบางพื้นที่จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรทางน้ำ ในช่วงปลายของศตวรรษที่ 16 ได้มีการตระหนักถึงจำนวนทรัพยากรทางน้ำและสิ่งมีชีวิตจำพวกปลาได้มีการลดจำนวนลงและการแพร่กระจายของศัตรูทางธรรมชาติได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นจากการลงทุนระดับอุตสาหกรรม ทั้งหมดนี้ได้ทำให้เกิดคำถามในวงกว้างเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติถึงวิธีการจัดการและขอบเขตในการล่า
© Daily Mirror
วิสัยทัศน์ของ WWF ในปัจจุบันนั้นกว้างไกลเกินกว่าในช่วงเวลา 1961 ที่ทำการก่อตั้งอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสนใจของสาธารณะซึ่งได้ทำให้เกิดการถกเถียงและวิธีการแก้ไขต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสายพันธ์สิ่งมีชีวิตที่ใกล้จะสูญพันธ์ในปัจจุบัน
โดยจะเห็นได้จากรูปหนังสือพิมพ์ทางด้านขวามือที่พูดถึงโครงการการอนุรักษ์แรดดำในทวีปแอฟริกา
หลังจากนั้น Peter Scott ได้นำภาพร่างรูปแพนด้ายักษ์ที่ชื่อ Chi-Chi ผลงานของ George Waterson มาใช้เป็นสัญลักษณ์ขององค์กร โดย Chi-Chi นั้นเป็นแพนด้ายักษ์ตัวแรกที่ได้มาอาศัยอยู่ในโลกฝั่งตะวันตกโดยในปัจจุบันแพนด้ายักษ์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความท้าทายในการเผชิญหน้าเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ
© WWF Int. / WWF
ถึงแม้การตระหนักถึงปัญหาในสาธารณะจะเพิ่มมากขึ้นแต่ทาง WWF ก็ทราบดีว่านี่ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาระยะยาว เนื่องจากว่าภาคธุรกิจยังคงใช้วิธีการในการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอันเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า
...
การอนุรักษ์นับวันยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราในโลกสมัยใหม่มากขึ้นด้วยเช่นกัน
การอนุรักษ์นับวันยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราในโลกสมัยใหม่มากขึ้นด้วยเช่นกัน
© WWF
ในปี 1987 คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (WCED) ได้เสนอเอกสารสำคัญที่มีอิทธิพลต่อแนวความคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในโลกคือ "Our Common Future" ที่เรียกร้องให้เปลี่ยนแนวทางการพัฒนาให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
ปี 1992 องค์การสหประชาชาติเริ่มทำการวางแผนสำหรับการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ส่งผลถึงปัจจุบัน เป็นอีกหนึ่งครั้งที่ WWF , IUCN และ UNEP ร่วมมือการจัดวางกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สามารถนำไปใช้ดำเนินการในทางปฏิบัติได้เป็นครั้งแรก
กิจกรรมต่างๆถูกดำเนินไปในมุมที่กว้างขึ้น กิจกรรมต่างๆไม่เพียงแต่ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ , นักล่าสัตว์และคนรักสัตว์แต่เพียงเท่านั้น สังคมแวดล้อมโดยรวมได้เริ่มต้นสนใจในเรื่องของการพัฒนาและสวัสดิการของมนุษย์มากยิ่งขึ้น กิจกรรมต่างๆของ WWF ได้รับความร่วมมือกับสังคมและโลกที่เราอาศัยอยู่มากยิ่งขึ้น
© IUCN
ถึงแม้จะดูเป็นเงินจำนวนมหาศาลที่ WWF ได้ใช้จ่ายไปกับโครงการอนุรักษ์ในปี 2005 - 2006 เกือบ 500 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐแต่ก็ดูเล็กน้อยเมื่อเทียบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของโลก โดย GDP ของโลกในปี 2005 นั้นสูงถึง 60 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ดังนั้นคำถามคือ เราจะทำอย่างไรให้อัตราการย่อยสลายของมรดกทางธรรมชาติที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบันสอดคล้องไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมนุษย์ได้มากที่สุด
WWF ได้แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนหลัก:
- การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
- ป้องกันภัยคุกคามที่มีอิทธิพลต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กำหนดกระบวนการการผลิตอย่างยั่งยืนที่มีผลต่อภัยคุกคามทางธรรมชาติ
© UN Convention on Biodiversity
© WWF / Nadia BOOD
กระแสโลกาภิวัฒน์ได้ส่งเสริมการค้าและการพาณิชย์ที่นำความมั่งคั่งเกิดขึ้นให้กับผู้คนหลายล้านทั่วโลก แต่ทว่ากิจกรรมต่างๆนั้นไม่ได้ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากอย่างที่ควร
กิจกรรมเชิงพาณิชย์ต่างๆทั่วโลกที่เพิ่มจำนวนและเติบโตมากขึ้นอย่างมหาศาลส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่เพียงแต่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบแต่ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามความต้องการของผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน นอกจากจะเป็นการทำร้ายสิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการสร้างช่องว่างระหว่างความเจริญรุ่งเรืองกับชุมชนท้องถิ่นด้วยเช่นกัน
© WWF / Arnulf Köhncke
เห็นได้ชัดว่ากระบวนการผลิตในตลาดไม่เพียงพอสำหรับคนยากจนและยังล้มเหลวในการรักษาสภาพแวดล้อม
ในปี 2006 มีการสำรวจถึงความสัมพันธ์ระหว่างรอยเท้านิเวศและดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติที่แสดงให้เห็นว่าวิธีการพัฒนาของประเทศส่วนใหญ่ละเมิดเกณฑ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน นั่นจึงเป็นอีกความท้าทายสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะปรับเปลี่ยนการผลิตต่างๆของโลกให้เป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ?
ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัฒน์และกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติไม่ใช่เพียงแค่เรื่องที่เรา"ควร"จะต้องหันมาสนใจ แต่เป็นเรื่องที่"จำเป็น"จะต้องใส่ใจที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้หากเราไม่มีขั้นตอนและกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ใช้ร่วมกัน
WWF ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้มาเป็นเวลาหลายปีและได้ทำการจัดตั้งกฏระเบียบและกลไกต่างๆที่สามารถทำให้กิจกรรมเชิงพาณิชย์ต่างๆเข้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปัจจุบันโดยเฉพาะการผลิตต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวัสดุประเภทไม้
© Diego M. Garces / WWF
© N.C. Turner / WWF
อย่างไรก็ตามพื้นที่ป่าบางส่วนในปัจจุบันได้รับการดูแลและจัดตั้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
© WWF / Peter Ngea
© WWF / Jorge BARTOLOME
นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของความสำคัญในการร่วมมือกันทางธุรกิจระหว่างผู้ที่มีส่วนได้เสียโดยตรงเพื่อให้บรรลุผลร่วมกันอย่างเท่าเทียมซึ่งโอกาสนี้เปิดกว้างสำหรับทุกธุรกิจและกลุ่มองค์กร หากบริษัทหรือองค์กรมีความสนใจในเรื่องของทรัพยากรที่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องการที่จะเปลี่ยนบทบาทจากศัตรูของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเป็นผู้กล้าหาญที่จะเดินหน้าอนุรักษ์ไปพร้อมกันกับเรา
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ไม้และปลาเท่านั้น กิจกรรมทางการเกษตรที่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช , บริษัทผลิตเครื่องดื่มที่จำเป็นต้องปกป้องแหล่งน้ำสะอาดและรักษาสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงเราจะได้เห็นบริษัททางด้านประกันชีวิตและสถาบันการเงินมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกซึ่งอาจเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
© WWF
กลยุทธ์ของ WWF ถูกสร้างขึ้นด้วยกรอบแนวคิดของการให้ความสำคัญกับพื้นที่ทางธรรมชาติกว่า 200 แห่งทั่วโลกและภูมิศาสตร์ต่างๆที่จะนำเสนอถึงประเด็นทางออกและการควบคุมทางด้านสิ่งแวดล้อมเช่น FSC และ MSC
เรื่องเหล่านี้ถูกหลอมรวมกันมาเป็นประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรที่มีเป้าหมายในการตรวจสอบและอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติที่ชัดเจนอย่าง WWF เพื่อที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายนั่นคืออนาคตของโลกที่ยั่งยืน
เป้าหมายต่างๆเปรียบได้กับไฟนำทางขององค์กร WWF ที่จะร่วมมือกันระหว่างประเทศภายใต้ความพยายามและจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา
© WWF / Elma Okic
...
ทรัพยากรของโลกมีมากพอสำหรับความต้องการของทุกคน แต่ไม่มีวันมากพอสำหรับความโลภของมนุษย์
- มหาตมา คานธี
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดก็ไม่สามารถบอกได้ว่านั่นคือแบบอย่างที่ควรปฏิบัติตามเพราะการอนุรักษ์ธรรมชาติไม่สามารถบอกได้ว่ามีวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่สมบูรณ์แบบและเราควรปฏิบัติตาม เพราะถ้าพลาดนั่นหมายถึงหายนะ
© Brent Stirton/WWF
สังคมมนุษย์นั้นมีความหลากหลายอย่างไม่สิ้นสุดซึ่งในทุกความหลากหลายของมนุษย์นั้นต้องแลกมาด้วยการสูญเสียทางธรรมชาติมากมาย
...
วิถีชีวิต , พิธีกรรม , ข้อห้ามและความเชื่อดั้งเดิมต่างๆนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับการสูญเสียของธรรมชาติแทบทั้งสิ้น
การเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเกษตรกรรมนับเป็นอีกหนึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ช่วยให้สังคมมนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบของผู้ที่ต้องการอาหารและผู้ให้
แต่ธรรมชาติคือผู้ให้ที่พักพิงสำหรับสายพันธ์ต่างๆ , ธรรมชาติคือผู้จัดสรรโครงสร้างของพื้นที่และความอุดมสมบูรณ์ให้ตรงตามฤดูกาลต่างๆที่จะทำให้พืชผักผลไม้เจริญเติบโตได้ตามความต้องการของมนุษย์ แน่นอนว่าธรรมชาติก็ได้ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลร้ายต่อชีวิตของผู้คน
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่วิถีชีวิตหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อแบบดั้งเดิมได้มีผลดีและผลลบต่อธรรมชาติโดยตรงซึ่งในหลายๆที่ได้มีแนวคิดในการอนุรักษ์และรักษาธรรมชาติเป็นทุนเดิมอยู่แล้วซึ่งนั่นเป็นผลดีสำหรับเราที่จะนำแนวคิดและแง่มุมของวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น
เป็นความตลกร้ายอย่างหนึ่งที่เมื่อสังคมมนุษย์ได้เติบโตขึ้นและเรามีทักษะรวมไปถึงความเข้าใจสำหรับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นในยุคปัจจุบันแต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ทันการณ์สำหรับการดำรงสภาพสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ได้ มีทางเดียวเท่านั้นคือเราต้องเร่งดำเนินการแก้ไขในทันที
© WWF DCP BG Archive
© naturepl.com / Mary McDonald / WWF
ถ้าจะบอกว่าวัฒนธรรมของมนุษย์ก้าวเข้ามามีบทบาทในการขัดเกลาธรรมชาติและเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นก็คงจะไม่ผิดนัก เรารู้ดีว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้และธรรมชาติก็ได้พ่ายแพ้ต่อการรุกล้ำของมนุษย์แต่ในท้ายที่สุดเราทุกคนรู้ดีว่ามนุษย์ไม่อาจต้านทานการเปลี่นแปลงของธรรมชาติได้และผลกระทบของมันช่างใหญ่หล
WWF ร่วมมือกับองค์กรต่างๆเพื่อประเมินถึงสถานการณ์ในปัจจุบันด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานของเราทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมายเช่นแม่น้ำที่ไม่อาจไปเชื่อมต่อกับทะเลได้อีกต่อไป , การประมงเชิงพาณิชย์ที่มากเกินไปจนส่งผลถึงจำนวนปลาในธรรมชาติ หรือแม้แต่ป่าไม้ที่ไม่เคยเกิดการไหม้โดยสภาพอากาศเลยแต่ในปัจจุบันกลับเกิดไฟไหม้ป่าขึ้นในทุกปี ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเกิดจากการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่ส่งผลต่อธรรมชาติซึ่งเราต้องใส่ใจมากกว่านี้เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
เหตุการณ์ที่กล่าวไปเป็นเพียงแค่กรณีตัวอย่างส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่น่าวิตกกังวลซึ่งการก่อตั้งของ WWF คืองานด้านสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวกิจกรรมต่างๆเพื่อผลักดันให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องของสายพันธ์และการอนุรักษ์ธรรมชาติซึ่งนับว่าเป็นอีกครั้งที่วัฒนธรรมของมนุษย์ได้ขัดเกลาธรรมชาติ
© Adriano Gambarini / WWF-Brazil
...
ธรรมชาติไม่ใช่แค่สถานที่ท่องเที่ยว แต่มันคือบ้านของเรา
- Gary Snyder
สายพันธ์ต่างๆและแหล่งที่อยู่อาศัยของมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์
เป็นเวลากว่าหลายพันปีที่นักมานุษยวิทยาได้แสดงให้เราเห็นว่าสังคมมนุษย์มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติในรูปแบบของการพึ่งพาซึ่งกันและกันและมีการพัฒนาในรูปแบบของวัฒนธรรมและข้อห้ามต่างๆซึ่งเป็นมิตรต่อธรรมชาติและความยั่งยืนของชีวิตมนุษย์ก่อนที่คำว่า"ความยั่งยืน"จะถูกคิดค้นขึ้นมาเสียอีก
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มาพร้อมกับภัยพิบัติมากมายทำให้สังคมมนุษย์รับรู้ได้ว่าเราไม่สามารถที่จะควบคุมสภาพแวดล้อมได้อีกต่อไปแต่เราก็ยังจำเป็นที่จะต้องอาศัยอยู่ในโลกใบนี้ ในปี 2005 โลกได้รู้จักกับ Kyoto Protocol ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของความพยายามระดับนานาชาติในการต่อสู้กับภัยคุกคามต่อความมั่นคงที่เลวร้ายที่สุดในโลกใบนี้
ในปีเดียวกันนั้นโลกได้ประสบกับพายุเฮอริเคนแคทรีนาซึ่งมีอานุภาพเหนือกว่าพายุเฮอริเคนที่มีความรุนแรงมากที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา นั่นได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่าเราไม่สามารถควบคุมภัยคุกคามจากธรรมชาติได้เลยซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นก็มากพอที่เราจะตระหนักได้ถึงมาตรการเร่งด่วนก่อนที่ภัยธรรมชาติจะทำลายล้างเราอีกครั้งหนึ่ง
© Francisco Márquez / WWF-Spain
© © ESA / T. Reiter / WWF
ถึงแม้เจตนารมณ์ในการช่วยเหลือภาคการเมืองจะไม่ต่อเนื่อง แต่ความตั้งใจของประชาชนทุกคนยังคงสืบไปและส่งผลกระทบต่อโลกการค้าและองค์กรภาคธุรกิจให้ทุกคนตระหนักได้ว่าเราไม่สามารถรอได้อีกต่อไป
ด้วยความคิดสร้างสรรค์ , ความเข้าใจและความร่วมมือทำให้ทุกสิ่งเป็นไปได้ เราทุกคนจะมีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในเวลาเดียวกันถ้าหากว่าเรามีสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศที่ดีขึ้นภายในอนาคต
เป้าหมายสูงสุดของ WWF คือการสร้างอนาคตที่มนุษย์สามารถอยู่อาศัยไปกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืนและเรื่องราวปัญหาเหล่านี้ก็คือสิ่งที่เราต้องทำ
เราสามารถกลับไปอยู่อย่างสงบดั่งเช่นอดีตได้หรือไม่ ?
อาจจะไม่ได้ แต่อย่างน้อยเราก็สามารถสร้างสภาพแวดล้อมและสังคมมนุษย์ที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตที่ดีในอนาคตได้ด้วยน้ำมือของเราทุกคน
© Moeun Morn / WWF-Cambodia
© Earth Hour