The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
ในปัจจุบัน พื้นที่ชุ่มน้ำครอบคลุมกว่า 36,616.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 7.5% ของพื้นที่ในประเทศไทย และจากการพัฒนาของสังคมเมือง รวมถึงการที่ "น้ำ" เป็นทรัพยากรหลักที่ถูกใช้งานมาอย่างยาวนาน ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมและเป็นงานด่วนที่นักอนุรักษ์ รวมถึงคนไทยทุกคนต้องเร่งฟื้นฟู และคืนกลับผืนน้ำอันอุดมสมบูรณ์ให้แก่ธรรมชาติ
น้ำจืดสำคัญอย่างไร ?
พระราชดำรัส "น้ำคือชีวิต" ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ พระราชทานไว้ว่า "..หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้..."
น้ำจืดจึงเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของทุกสรรพชีวิต ทั้งในด้านการอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม การคมนาคม การเกษตร การท่องเที่ยว และนันทนาการ
โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ
ฝ่ายทรัพยากรน้ำจืด WWF ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการทำงานในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่บางส่วนของภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน คือ ภายในปี พ.ศ. 2563 พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างจะยังคงความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ตอบสนองความต้องการในการดำรงชีพได้เหมาะสม รวมทั้งได้รับการบริหารจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจืด
ร่วมสนับสนุนการทำงานของเรา
ทุกท่านสามารถช่วยสนับสนุนการทำงานด้านการอนุรักษ์ของ WWF-ประเทศไทย และติดตามการทำงานเกี่ยวกับการพิทักษ์ และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจืดในแต่ละโครงการได้ที่นี่