The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
เมือง เป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลักของโลกกว่า 70%
ปัญหาในเมือง
กว่าครึ่งของประชากรโลกล้วนอาศัยอยู่ในเมือง แต่เมืองกลับเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลักของโลกด้วยจำนวนประชากร ที่มากขึ้นควบคู่กับเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว อันนำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างเกินขีดจำกัด ทั้งหมดนี้ทำให้เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามนุษย์กำลังเผชิญหน้ากับผลกระทบอันใหญ่หลวงจากภาวะโลกร้อน
บทบาทของ WWF
- โครงการเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืน หรือ One Planet City Challenge ชื่อเดิมคือ โครงการปลุกเมืองให้โลกเปลี่ยน หรือ Earth Hour City Challenge ได้ดำเนินกิจกรรมทุกสองปีเพื่อผลักดันให้เมืองต่างๆ ทั่วโลกได้พัฒนาไปสู่เมืองที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิ อากาศ โดย WWF-ประเทศไทยได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถ ึงปัจจุบันมีเมืองในประเทศไทยเข้าร่วมโครง การทั้งสิ้น 34 เทศบาล เพื่อให้นำเสนอเป้าหมายและแผนปฏิบัติการเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นำไปสู่ความ สำเร็จในการพัฒนาเมืองไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
WWF มีวิธีดำเนินการอย่างไร
ในการดำเนินงานของ OPCC 2017-2018 ประเทศไทยได้จัดส่งเมืองจำนวน 10 เทศบาล เข้าร่วมแข่งขันกับอีก 132 เมืองจาก 23 ประเทศทั่วโลก ซึ่งก็ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเมือง ในการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสอดรับกับ นโยบายของประเทศเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดยเมืองที่ชนะเป็นเมืองที่ได้สร้างความประทับใจให้คณะกรรมการจากความเข้มแข็ง ของผู้นำในระดับท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาการเดินทางอย่างยั่งยืนของเมืองโดยร่วมกันทุกภาคส่วน ซึ่ง เมืองที่ได้รับรางวัลชนะระดับประเทศคือ เทศบาลเมืองยโสธร โครงการนี้ไม่เพียงมุ่งเน้นที่จะเพิ่มเติมขีดความสามารถให้กับเมืองในการลดและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ แต่ยังมองถึงการแก้ปัญหาในระดับโครงสร้างพื้นฐานและจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนและส่งผลใน ระยะยาวเช่น การออกนโยบายให้ใช้รถสาธารณะ เมืองพลังงานสะอาด หรือการออกแบบพื้นที่ในเมืองเพื่อรณรงค์ให้ใช้จักรยาน หรือการเดิน รวมไปถึงการส่งเสริมความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานระดับท้องถิ่นและประชาชนในการ กำหนดนโยบายและทิศทางเพื่อการพัฒนาเมืองไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืนต่อไป