The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) หมายถึงลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขัง หรือท่วมอยู่ถาวร และชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
มีการคาดการณ์ไว้ว่าในทุกทวีปของโลกมีพื้นที่ชุ่มน้ำรวมกันคิดเป็นพื้นที่ระหว่าง 8.3 – 10.2 ล้าน ตร.กม. หรือระหว่าง 5,187 – 6,375 ล้านไร่ (Lehner and Doll, 2004) คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.6-2.0 ของพื้นที่โลก
© Chaiya Peng-un/WWF-Thailand
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
1). พื้นที่ชุ่มน้ำทางทะเล และชายฝั่งทะเล (Marine and Coastal Wetlands) ได้แก่ แนวปะการังชายฝั่ง หาดทราย แหล่งน้ำกร่อย หาดโคลน หาดเลน ป่าชายเลน ฯลฯ
2). พื้นที่ชุ่มน้ำภายในแผ่นดินใหญ่ (Inland Wetlands) ได้แก่ ทะเลสาบ หนอง บึง ห้วย ป่าพรุ ฯลฯ
3). พื้นที่ชุ่มน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น (Human-made Wetlands) ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ สระน้ำ บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่เกษตรกรรม ฯลฯ
ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างน้อย 36,616.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 22,885,100 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ประเทศไทย แบ่งเป็นพื้นที่น้ำจืดร้อยละ 44.8 และเป็นพื้นที่น้ำเค็มร้อยละ 55.2 คุณค่าโดยรวมของพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้แก่ การเป็นแหล่งน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำฝนและน้ำท่า ป้องกันน้ำเค็มมิให้รุกเข้ามาในแผ่นดิน ป้องกันชายฝั่งพังทลาย ดักจับตะกอนและแร่ธาตุ ป้องกันภัยธรรมชาติต่าง ๆ เป็นแหล่งทรัพยากรและผลผลิตทางธรรมชาติที่มนุษย์เข้าไปใช้ผลประโยชน์ เช่น แหล่งอาหาร ยารักษาโรค แหล่งนันทนาการพักผ่อนท่องเที่ยว เป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ มีความสำคัญทางนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งของผู้ผลิตห่วงโซ่อาหาร ความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาวิจัยทางธรรมชาติ
ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยกำลังตกอยู่ในภาวะถูกคุกคาม จากการบุกรุกและกิจกรรมการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ เช่น การเกษตร การเพาะปลูก การประมง การขยายตัวเมือง การพัฒนาอุตสาหกรรม ต่างๆ โดยมีสาเหตุที่สำคัญ ได้แก่
- ขาดข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนการจัดการ
- ขาดการวางแผนและการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ
- นโยบายและการบริหารจัดการที่แยกส่วน และไม่ชัดเจน
- ขาดความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
- ชุมชนขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมวางแผนและจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ
ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานวิชาการพื้นที่ชุ่มน้ำ และคณะอนุกรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงได้ทำการศึกษาคุณสมบัติทางนิเวศวิทยา และทบทวนบัญชีรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ การเสนอยกระดับพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่นขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติ และเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญเร่งด่วนสมควรได้รับการคุ้มครอง ฟื้นฟู และศึกษาสำรวจ รวมทั้งจัดทำทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย ขึ้นเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 ซึ่งคณะกรรมการมีความเห็นชอบ ต่อมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้เสนอมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 โดยคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบตามมติเรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง “ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติและระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ” มีรายละเอียดสาระสำคัญ ดังนี้
1). พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ จำนวน 69 แห่ง
2). พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ จำนวน 47 แห่ง
3). พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการคุ้มครอง 17 แห่ง
4). พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการฟื้นฟู 20 แห่ง
5). พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องได้รับการศึกษาสำรวจ อย่างน้อย 19 แห่ง
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
รายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ
© Naksit Sangjun/WWF-Thailand
รายชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ