The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
นี่คือความสำเร็จบางประการในปีนี้ แม้ยังมีงานหนักที่ต้องทำในอนาคต แต่เราจะเดินหน้าต่อสู้เพื่ออนาคตของสัตว์ป่า เหล่านี้
เรายังคงยืนหยัด และขอขอบคุณที่ร่วมเป็นแนวหน้ากับเรา
---------------------
เตรียมพร้อมเพื่อการปกป้องที่ดีขึ้น
หลังกลุ่มลักลอบล่าสัตว์ข้ามชาติฆ่าช้าง 300 ตัวในอุทยานประเทศแคเมอรูน ทำให้รัฐบาลต้องส่งกองกำลังชั้นแนวหน้า 600 นาย เพื่อป้องกันพรมแดนประเทศ และเริ่มรับสมัครเจ้าหน้าที่ป่าไม้เพิ่มเติมอีก 2,500 นายที่ประเทศจีน มีการนำเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์เข้าช่วยในการตรวจจับผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าผิดกฏหมาย ขณะนี้มีการฝึกสุนัขดมกลิ่นอย่างเข้มข้น ก่อนปฏิบัติหน้าที่จริง
ผู้พิทักษ์ทางนิเวศในเนปาล ได้รับมอบเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้สามารถเฝ้าระวังกลุ่มลักลอบล่าสัตว์ที่เข้ารุกรานทางอากาศได้ ด้วยการสนับสนุนจากกูเกิ้ล WWF ยังช่วยสอนวิธีการใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อการอนุรักษ์แก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ในนามิเบียด้วย
ในข้อตกลงครั้งสำคัญ แอฟริกาใต้กับเวียดนามต่างร่วมมือเพื่อลงโทษผู้ลักลอบล่าแรด
ที่ประเทศกาบอง มีการจัดตั้ง “กองพันป่า” ชุดพิเศษ ซึ่งมีตำรวจร่วมด้วย เพื่อสืบสวนสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า
เพิ่มบทลงโทษ
- ผู้ลักลอบค้านอแรดในแอฟริกาใต้ถูกตัดสินจำคุก 40 ปี เนื่องจากมีส่วนในองค์กรอาชญากรรมที่บงการการล่าสัตว์
- การเดินขบวนตามท้องถนนเพื่อต่อต้านการลักลอบล่าสัตว์ ทำให้รัฐบาลเคนย่าผลักดันกฏหมายสัตว์ป่าฉบับใหม่ ซึ่งเพิ่มโทษต่อผู้ละเมิด
- ในประเทศรัสเซีย ผู้ลักลอบล่าเสือจะถูกลงโทษด้วยการใช้แรงงานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเวลา 14 เดือน และปรับอีกกว่า 500,000 บาท หากยิงสัตว์หายากนี้
- ประเทศญี่ปุ่นเพิ่มโทษจำคุกแก่ผู้ก่ออาชญากรรมต่อสัตว์ป่าสูงสุด 5 ปี
- ประเทศกาบองออกกฏหมายห้ามการใช้ปืนและเครื่องกระสุนในการสังหารช้าง รวมทั้งปรับปรุงกฏหมายเพื่อ เพิ่มโทษ
- ผู้สนับสนุน WWF ในสหราชอาณาจักร ส่งจดหมาย 5,000 ฉบับแก่ส.ส. ของพวกเขา เรียกร้องให้เพิ่มทุนและเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อบังคับใช้ในกิจการสัตว์ป่า
- สมาชิกในคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาแห่งสหประชาชาติ ผ่านร่างมติให้การลักลอบค้าสัตว์ป่าเป็น “อาชญากรรมร้ายแรง” ซึ่งจะมีโทษจำคุก 4 ปีขึ้นไป
ผู้สนับสนุนชั้นเลิศรายใหม่
- WWF ขอขอบคุณลีโอนาโด ดิ คาปริโอ และคุณทุกคน ที่ทำให้ WWF และ Avaaz ได้รายชื่อสนับสนุนในการยื่นข้อเรียกร้องต่อประเทศไทยให้ยกเลิกการค้างาช้างมากถึง 1.6 ล้านรายชื่อ
- นายอาลี บองโก ประธานาธิบดีกาบอง ทำลายปืนและงาช้างที่ยึดได้จากกลุ่มลักลอบล่าสัตว์เพื่อแสดงออกอย่างแรงกล้าว่าจะไม่อดทนต่อการลักลอบล่าสัตว์อีกต่อไป ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นอีกประเทศที่จะปฏิบัติตาม
- ผู้นำประเทศแอฟริกาประเทศอื่นๆ รวมทั้งนายเอียน คามา ประธานาธิบดีบอสวานา นายจาคอบ ซูมา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ และนายอูห์รู เคนยาตา ประธานาธิบดีเคนยา ต่างแสดงความห่วงกังวลต่อการลัก ลอบค้าสัตว์ป่า
- ที่สหประชาชาติ นายบัน คี มุน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ เสนอรายงานต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง สหประชาชาติว่าการลักลอบล่าและส่งออกสัตว์ป่าเป็น “ภัยคุกคามอันใหญ่หลวง” ต่อสันติภาพและ ความมั่นคง
- เพื่อเป็นการเตือนให้เห็นว่าอาชญากรรมต่อสัตว์ป่านั้นยังเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจ นายโดนัลด์ คาเบอรูกา ประธานธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา จึงเข้าร่วมกับ WWF เพื่อเปิดตัว ปฏิญญามาร์ราเกซ ซึ่งเป็นแผน ปฏิบัติการเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ
- เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ และเจ้าชายวิลเลียม พระโอรส ให้การต้อนรับตัวแทนรัฐบาลจากทั่วโลก ณ พระตำหนัก ในกรุงลอนดอน เพื่อร่วมกันหาทางหยุดยั้งการสังหารสัตว์ป่า
- ประเทศที่ไม่สามารถปฏิบัติตามคำมั่นภายใต้ CITES ซึ่งเป็นสนธิสัญญาภายใต้สหประชาชาติที่ควบคุมการค้า สัตว์ป่าและพืชป่าระหว่างประเทศ ได้รับคำเตือนให้ปรับปรุงตัว หรือไม่ก็อาจต้องเผชิญกับการคว่ำบาตรทาง เศรษฐกิจ
- สมาชิกในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียและแปซิฟิก ประกาศคำมั่นที่จะเพิ่มความพยายามในการต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่า
- ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา นางฮิลลารี คลินตัน ได้ริเริ่มให้มีการจัดงานวันอนุรักษ์สัตว์ป่าในสถานทูตทั่วโลก ด้านคณะกรรมาธิการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วุฒิสภาสหรัฐ ในช่วงที่นายจอห์น เคอร์รี ยังเป็นประธาน ณ ขณะนั้น ได้สานต่อประเด็นนี้เช่นกัน
- ในพิธีที่จัดขึ้นทั้งที่ไนโรบี และกรุงเทพฯ ผู้นำทางศาสนาจากทั่วแอฟริกา และพระผู้นำทางพุทธศาสนาในประเทศไทยร่วมพิธีบังสุกุลให้ช้างเพื่อแสดงการสนับสนุนการปกป้องสัตว์ที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์
การตอบสนองข้อเรียกร้อง
- นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย แสดงเจตจำนงค์จะยุติตลาดการค้างาช้างในประเทศ ต่อหน้า ตัวแทนรัฐบาล 178 ประเทศ
- ในประเทศเวียดนาม ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 65 ล้านคน ได้รับข้อความ SMS เรียกร้องให้ร่วมกันไม่ซื้อไม่ขายไม่ใช้นอแรด
- ในประเทศจีน ผู้ให้บริการอี-คอมเมิร์ซ รายใหญ่ปราบปรามการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าผิดกฏหมาย เช่น ไวน์ดองกระดูกเสือ
- ผู้นำประเทศในแอฟริกากลาง ร่วมมือกันเพื่อเรียกร้องต่อประเทศผู้บริโภคงาช้างในเอเชีย หามาตรการเพื่อ หยุดยั้งความต้องการบริโภค ซึ่งเป็นตัวการสังหารช้าง ขณะเดียวกันก็พร้อมจะเพิ่มการดูแลภายในประเทศด้วย
- เกมบุกจับการค้าแรดในแอฟริกาใต้ของ WWF มีผู้ดาวน์โหลดมากกว่า 500,000 ครั้ง ส่วนใหญ่จากผู้ใช้อินเตอร์เน็ทในเอเชีย ซึ่งมีความต้องการนอแรดสูงที่สุด
ครั้งแรกในประเทศไทย ผู้นำทางพุทธศาสนาร่วมสวดมนต์อุทิศส่วนกุศลแก่ช้างที่ถูกล่า
กรุงเทพฯ 9 มีนาคม 2556 – ขณะที่รัฐบาลประเทศต่างๆทั่วโลกรวมตัวอยู่ที่กรุงเทพมหานครเพื่อหารือเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่า ที่เกิดขึ้นทุกมุมโลก วันนี้ ผู้นำทางพุทธศาสนาในประเทศไทยที่เป็นที่เคารพร่วมเป็นเจ้าภาพจัดพิธีทางศาสนาเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ช้างหลายหมื่นตัวที่ถูกล่าในแต่ละปี รวมทั้งยังร้องขอให้ลูกศิษย์และผู้ศรัทธา เลิกใช้ และขายงาช้าง
ดาวน์โหลด
วิดีโอแคมเปญหยุดค้างา หยุดฆ่าช้าง:
สำหรับสื่อมวลชน (84.3MB)
สำหรับสื่อออนไลน์ (20.2MB)
อัลบั้มภาพ :
งานรณรงค์หยุดค้างา หยุดฆ่าช้าง ในประเทศไทย โดย เจมส์ มอร์แกน
งานรณรงค์ต่อต้านการค้าสัตว์ป่า จากแอฟริกาถึงเอเชีย โดย เบรนท์ สเตอร์ตัน
ภาพการเคลื่อนย้ายแรดที่ได้รับบาดเจ็บ
ภาพลาดตระเวนต่อต้านการลักลอบล่าสัตว์ป่าและเผางาช้างที่ประเทศกาบองโดย เจมส์ มอร์แกน
ภาพช้างแอฟริกา
ภาพเสือ
ประเทศไทยต้องห้ามการขายงาช้างเพื่อช่วยชีวิตช้าง
แม้ว่าการขายงาจากช้างแอฟริกันจะเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย แต่สำหรับงาช้างในประเทศแล้วสามารถขายได้อย่าง ถูกต้องซึ่งเป็นช่องโหว่ทางกฏหมายของไทยที่เอื้อประโยชน์ต่อเครือข่ายอาชญากรรมในการลอบขนงาช้างเลือดจากแอฟริกา มาขายในไทย
ลีโอนาโด ดิคาปริโอ ร่วมกับ WWF “Hands Off My Parts” เพื่อหยุดยั้งอาชญากรรมสัตว์ป่า