The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
เมื่อเวลาผ่านไป ความตั้งใจของ WWF ไม่ได้หยุดเพียงแค่การรักษาชีวิตสัตว์ป่าแต่ยังรวมไปถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นที่จะรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับโลกใบนี้
© WWF / WWF-Japan/Ozaki Haruko
ศตวรรษที่ 17
ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น เงินสนับสนุนจำนวนดังกล่าวได้นำไปเป็นส่วนช่วยเหลือโครงการต่างๆกว่า 356 โครงการทั่วโลกทั้งการสำรวจสัตว์ป่า , ความพยายามป้องกันการรุกล้ำรวมไปถึงการให้ความรู้กับการศึกษา สัตว์และแหล่งธรรมชาติต่างๆที่ได้รับการดำเนินการจากเงินสนับสนุนครั้งนี้ได้ทำให้องค์กรกลายเป็นที่รู้จักในสัญลักษณ์ของการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติและได้กลายเป็นเป้าหมายหลักในการทำงานของ WWF นี่เป็นครั้งแรกที่เรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติได้กลายเป็นเรื่องสาธารณะ
1962: ก่อตั้งสถานีวิจัยในหมู่เกาะกาลาปากอส
1963: ก่อตั้งโรงเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการสวนและอุทยาน
1965: การเพิ่มประชากรแรดขาว
1966: ออกสำรวจสัตว์ป่าในประเทศแอฟริกาใต้
1969: ซื้อพื้นที่ร่วมกับรัฐบาลสเปนจัดทำอุทยานแห่งชาติ
© WWF / Martin HARVEY
ศตวรรษที่ 18
แทนที่จะรักษาแต่สิ่งมีชีวิตและธรรมชาติบางพื้นที่ WWF ได้เริ่มการส่งเสริมการอนุรักษ์ที่คลอบคลุมมากขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติได้มากยิ่งขึ้น
ในส่วนนี้ WWF ได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทร่วมกันกับรัฐบาลต่างๆภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมและเริ่มที่จะแก้ไขปัญหาภัยคุกคามบางส่วน
1971: เริ่มสนธิสัญญาระหว่างประเทศกับการปกป้องพื้นที่ป่าชายเลน
1972: ขยายขนาดจำนวนประชากรเสือได้ถึง 30%
1975: เริ่มต้นการอนุรักษ์ป่าฝน
1976: เริ่มต้นอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์
© JDNP/WWF
ศตวรรษที่ 19
WWF ได้ตระหนักว่าเพียงแค่ความพยายามในการอนุรักษ์สวนอุทยานและป้องกันการสูญพันธ์ต่างๆนั้นคงไม่พอ WWF ได้นำแนวทางของผู้ก่อตั้งมาเป็นแนวทางในการพัฒนานั่นคือการอนุรักษ์ที่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์นั้นจะได้รับความสนใจจากประชาชนมากกว่าการหยิบยกมาเป็นเพียงประเด็นเพียงอย่างเดียว ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ได้เป็นการวางรากฐานสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งได้กลายมาเป็นแนวทาง , ปรัชญาและกลยุทธ์ของ WWF อีกด้วย
1980: กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนครั้งแรกของโลก
1981: การวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นพิษ
1982: การวางมาตรการการล่าวาฬในเชิงพาณิชย์
1986: ร่วมมือกับรัฐบาลแคเมอรูนในการบูรณาการอนุรักษ์และการพัฒนา
1989: กลไกการจัดการเงินสนับสนุนในการอนุรักษ์รูปแบบใหม่
1989: ร่วมมือกับรัฐบาลจีนในแผนอนุรักษ์แพนด้ายักษ์แห่งชาติ
ศตวรรษที่ 20
ความร่วมมือกันต่างๆได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างชัดเจนในพันธกิจสากลของ WWF โดยได้ทำให้เกิดแนวทางและนโยบายการปฏิบัติการต่างๆนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา WWF ได้พยายามเปลี่ยนแปลงจากการทำงานภายในพื้นที่ของแต่ละประเทศมาเป็นโครงการที่เราทุกคนสามารถร่วมมือกันได้ WWF ได้พัฒนากลยุทธ์ในการอนุรักษ์ธรรมชาติที่สำคัญต่อโลกใบนี้ซึ่งได้ถูกกำหนดออกมาดังต่อไปนี้ สายพันธ์ , ป่าไม้ , ทะเล , น้ำจืด , การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสารเคมีที่เป็นอันตราย
นอกจากการร่วมมือกันกับองค์กรพันธมิตรต่างๆแล้วทาง WWF ยังได้เริ่มที่จะเดินหน้าร่วมมือกับภาคธุรกิจในการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
1992: จัดตั้งอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
1993: พัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนท้องถิ่น
1993: เริ่มต้นมาตรฐานการเก็บเกี่ยวทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่า
1997: การตื่นตัวในความพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
1998: เริ่มจัดทำรายงานสิ่งมีชีวิตประจำปี
1999: การประกาศข้อตกลงในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในสาธารณรัฐคองโก
© WWF / Martin HARVEY
ศตวรรษที่ 21
เป้าหมายสองประการที่ทาง WWF มีคือการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและลดการปล่อยก๊าซที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ WWF ได้ใช้ความรู้และความสามารถรวมไปถึงพันธมิตรต่างๆจากทั่วโลกในการสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยให้การอนุรักษ์ต่างๆเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น ความพยายามเหล่านี้มีความสำคัญต่อพื้นที่ต่างๆที่มีขนาดกว้างใหญ่ไพศาลและมีความสำคัญต่อโลกเช่น อาร์คติก , สิ่งมีชีวิตและธรรมชาติที่มีผลต่อชีวิตมนุษย์รวมไปถึงความท้าทายในการแก้ปัญหาระดับโลกเช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีผลต่อตลาดการค้าระดับโลก
2002: ความพยายามครั้งใหญ่ในการที่จะรักษาพื้นที่อเมซอน
2003: WWF แสดงมูลค่าทางเศรษฐกิจของธรรมชาติ
2007: Earth Hour ครั้งแรกในเริ่มขึ้น
2008: การรับรองน้ำมันปาล์มที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างยั่งยืนเข้าสู่ตลาด
2009: การปกป้องสถานที่ซึ่งจะเป็นแหล่งทรัพยากรทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดของโลก
2010: Earth Hour ที่จัดขึ้นทั่วโลก