The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
- ประวัติ WWF
- ติดต่อ WWF-ประเทศไทย
- ร่วมงานกับ WWF-ประเทศไทย
- ทำไมต้องรูปหมีแพนด้า?
- WWF-ประเทศไทย
- งานของ WWF-ประเทศไทย
- ปัญหาการลักลอบฆ่าช้างค้างาเถื่อน
- Earth Hour ในประเทศไทย
- ความสำเร็จของ WWF
- ความร่วมมือกับภาคธุรกิจ
- สนับสนุน WWF-ประเทศไทย
- กระบวนการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการ
- ขั้นตอนปฏิบัติภายในเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับโครงการ
© WWF / John Cederroth
WWF เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์เป็นเวลากว่า 50 ปี ทำงานอนุรักษ์โดยยึดหลักการผสมผสานองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังประสานความร่วมมือกับกลุ่มองค์กร รวมถึงบุคคลทุกระดับในหลายประเทศทั่วโลก
WWF ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องดูแลรักษาธรรมชาติและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการในการวางแผน การจัดการ และตัดสินใจ โดยเน้นการทำงานเพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
WWF ทำงานด้านการอนุรักษ์ใน 3 เขตพื้นที่ชุมชนทางนิเวศ คือ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำจืดและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยทั้งสามเขตดังกล่าว คือ ตัวแทนพื้นที่สำคัญทางด้านชีววิทยาของโลก ซึ่งหล่อเลี้ยงและเกื้อหนุนการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ในขณะเดียวกันยังได้ระบุพันธุ์พืชและสัตว์ อันเปรียบเสมือนตัวแทนและสัญลักษณ์ของการทำงานอนุรักษ์ ซึ่งการปกป้องดูแลสายพันธุ์เหล่านั้นจะมีผลเชื่อมโยงไปยังการอยู่รอดของสัตว์น้อยใหญ่อื่นๆ อันรวมไปถึงถิ่นที่อยู่อาศัย WWF ยังกำหนดเป้าหมายในการรับมือกับภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
WWF เน้นการทำงานในภาคสนาม เสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรให้แก่กลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง ปลูกสร้างจิตสำนึกผ่านกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา รวมถึงการริเริ่มสร้างสรรค์ค้นหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับนโยบาย
ภารกิจของ WWF
• อนุรักษ์ไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Save biodiversity)
• บรรเทาผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ (Reduce Humanity’s impact on natural habitats)
เพื่อให้บรรลุภารกิจที่ได้วางไว้ WWF มุ่งประเด็นไปที่การอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่อยู่ในสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Critical species) อนุรักษ์ระบบนิเวศที่สำคัญและมีความเปราะบาง (Critical places) รวมถึงการลดผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Ecological Footprint) ไปพร้อมๆ กัน
WWF-ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อ 4 เขตภูมินิเวศที่ระบุไว้ใน WWF Global 200 อันประกอบด้วย เขตภูมินิเวศเทือกเขาตะนาวศรี-ถนนธงชัย ป่าดิบแล้งในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ลุ่มน้ำโขง และทะเลอันดามัน
แนวทางการดำเนินงานของ WWF ไม่ต้องการแยกมนุษย์ออกจากธรรมชาติ หรือต้องย้อนเวลากลับไปสู่ยุคเก่า หรือปฏิเสธการพัฒนาและความเจริญของประเทศ WWF มุ่งมั่นที่จะค้นหาทางเลือกที่เหมาะสมและปฏิบัติได้จริง ที่จะช่วยดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกได้อย่างยั่งยืน
WWF เชื่อว่า โลก คือ สถานที่ที่มนุษย์และธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสอดคล้องและกลมกลืน ในสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ตั้งแต่วันนี้จนถึงคนรุ่นต่อๆ ไป
WWF Thailand
WWF ต้องการอะไร ?
WWF ต้องการความสงบสุข , ความสุข , การเติบโตความเจริญก้าวหน้าและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับโลกใบนี้ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดี มิใช่หรือ ?
...
WWF เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์เป็นเวลากว่า 50 ปี ทำงานอนุรักษ์โดยยึดหลักการผสมผสานองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังประสานความร่วมมือกับกลุ่มองค์กร รวมถึงบุคคลทุกระดับในหลายประเทศทั่วโลก